fbpx
Search
Close this search box.

เปิด 4 เหตุผล ทำไม กนง.ไม่ลดดอกเบี้ย

สำหรับอัตราเงินฝาก-เงินกู้ ตอนนี้ทาง กนง.ยังคงดอกเบี้ยไว้ที่ 2.50% ต่อปี ทางธปท. มองว่าการลดอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มแรงส่งต่อเศรษฐกิจได้ไม่มาก และการผ่อนคลายนโยบายการเงินไม่ได้ทำให้การใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวหรืออุปสงค์การส่งออกดีขึ้นเนื่องจากกระแสแรงกดดันจากากรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ได้เสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)​ ควรปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และลดภาระให้กับนักธุรกิจ และประชาชนนั้น ภายหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจในปี 2566 ออกมาเติบโตเพียง 1.9% ถือว่าต่ำกว่าที่คาดไว้นั้น

เนื้อหา

ในการสัมภาษณ์พิเศษกับ Nikkei Asia ดร.เศรษฐพุฒิ กล่าวว่าธนาคารกลาง “ไม่ได้ดันทุรัง” ในเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ปัจจุบันอยู่ในระดับสูงในรอบทศวรรษ แต่ขอให้พิจารณาตัวเลขล่าสุดที่แสดงถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอและอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ติดลบ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเติบโตเพียง 1.9% ในปี 2566 ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่ไปไหนทำให้งบประมาณรัฐบาลปี 2567 ล่าช้า

ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยแพร่รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ) ครั้งที่ 1/2567 ได้ระบุผลการพิจารณาของคณะกรรมการ กนง.ส่วนใหญ่ ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.50% ต่อปี ด้วยมติ 5 ต่อ 2 โดย 4 เสียงเห็นว่า การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับที่เป็นกลางต่อเศรษฐกิจ (Neutral Interest Rate) จะช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งต้องอาศัยการรักษาเสถียรภาพระบบการเงินเป็นพื้นฐานสำคัญ

โดยมี 4 เหตุผล ดังนี้

  1. เศรษฐกิจที่ขยายตัวชะลอลงในช่วงที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เกิดจากแรงส่งภาคต่างประเทศที่น้อยลง และผลกระทบจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง
  2. การลดอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มแรงส่งต่อเศรษฐกิจได้ไม่มากนัก ในบริบทที่อุปสงค์ในประเทศที่ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และไม่สามารถแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่จะสามารถทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำได้ อีกทั้ง ยังเป็นการใช้ Policy Space ที่มีจำกัดอย่างไม่คุ้มค่า
  3. ปัญหาเชิงโครงสร้างอาจมีนัยสำคัญต่อการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับที่เป็นกลางต่อเศรษฐกิจ (Neutral Interest Rate) ซึ่งขึ้นอยู่กับศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่ผลกระทบนั้นมีการประเมินว่า มีไม่มากนัก และจากสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูง จึงเห็นว่าควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมให้มีความชัดเจนมากขึ้น
  4. ต้นทุนของการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากเกินไป คือ การกระตุ้นการสร้างหนี้ใหม่ ให้กับระบบเศรษฐกิจที่ปัจจุบันอยู่ในระดับที่สูงมากอยู่แล้ว และอาจทำให้กระบวนการลดหนี้ (deleveraging) ที่กำลังคืบหน้าจะหยุดชะงัก นอกจากนี้ อาจเพิ่มพฤติกรรมการแสวงหาผลตอบแทนที่เสี่ยงมากขึ้น ลดทอนแรงจูงใจการพัฒนาด้านศักยภาพการผลิต ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร รวมทั้ง เพิ่มการสะสมความเปราะบางในระบบเศรษฐกิจ

ดร.เศรษฐพุฒิ กล่าวอีกว่า หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นนั้น ไม่ใช่ส่วนเล็ก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับต่ำมากเป็นเวลานานนี้ จะกระตุ้นให้คนกู้ยืมเงิน และการลดอัตราอีกครั้ง จะส่งสัญญาณที่ผิด ในแง่การพยายามจัดการให้หนี้ครัวเรือนมีความยั่งยืนมากขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการ กนง. ก็มีความยืดหยุ่น พร้อมที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หากพัฒนาการเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ สุดท้ายแล้วคณะกรรมการ กนง. จะมีการนัดจัดประชุมวาระพิเศษเร่งด่วน หรือจะมีการปรับลดดอกเบี้ยหรือไม่

ผู้เขียน

ACU PAY Thailand

ACU PAY Thailand

ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่