เด็กจบใหม่หลายคนที่กำลังเริ่มต้นทำงาน ก็อยากมีเงินออมไว้ใช้ในอนาคตใช่ไหม แต่พอทุกสิ้นเดือนทีไรก็เหมือนจะสิ้นใจทุกที แผนเงินเก็บล่มพังไม่เป็นท่า แล้วจะทำยังไงไม่ให้ใช้เงินเดือนชนเดือน ครั้งนี้ ACU PAY จะมาบอกเคล็ดลับการบริหารเงินสำหรับวัยรุ่นสร้างตัวกัน
แพลนจะสำเร็จถ้า ถ้าเราตั้งเป้าหมายการเงินให้ชัดเจน โดยวิธีการตั้งเป้าหมายให้ใช้หลัก SMART Goal อย่างเช่น มีความชัดเจน (Specific), ระบุจำนวนเงินได้ (Measurable), มีวิธีการที่จะทำให้สำเร็จได้ (Accountable), เป็นจริงได้ (Realistic) และมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน (Time Bound)
จากนั้นแบ่งแพลนออกมาโดยตั้งออกมาเป็น 3 ระยะ เช่น
จุดเริ่มต้นของการเงินที่ดีคือการออมเงินให้ได้ ซึ่งการออมเงินก็เหมือนกับการบริหารเงินของตัวเองให้เป็น โดยทุกครั้งที่เงินเดือนออกให้ “เก็บก่อนใช้” ทุกครั้ง อย่างน้อย 5 – 10 % ซึ่งการลองเริ่มต้นจากจำนวนน้อย ๆ ก่อนจะช่วยให้เรามีกำลังใจพร้อมกับฝึกวินัยทางการเงิน เพื่อพร้อมไปบริหารการเงินที่เพิ่มมากขึ้นต่อได้
เงินสำรองฉุกเฉินถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับเด็กจบใหม่ที่กำลังเริ่มต้นทำงาน ซึ่งควรออมให้ได้ 3 – 6 เท่าของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน เพราะเราอาจจะ
เจอกับค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดได้ ไม่ว่าจะเป็น การเจ็บป่วย อุบัติเหตุ หรือแม้แต่การออกจากงานกะทันหัน ซึ่งการมีเงินสำรองฉุกเฉินจะทำให้เราอุ่นใจ ไม่ว่าจะเจอเหตุการณ์อะไรเข้ามา เราก็ยังสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้ตามปกติ
สำหรับเด็กจบใหม่ที่กำลังเริ่มทำงาน อาจคิดว่าการวางแผนการเงิน หมายถึง การใช้ชีวิตแบบประหยัดทุกเวลา อดมื้อกินมื้อ จริง ๆ แล้วไม่ใช่เลย เราสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ควบคู่ไปกับการวางแผนออมเงินได้ สามารถออกไปใช้ชีวิตโดยมีเงินที่ซื้อความสุขให้ตัวเองได้ แต่ทั้งนี้ เราก็ไม่ควรใช้เพลินจนเกินตัว เพราะหนี้อาจจะถามหาแบบไม่รู้ตัว ตัวอย่างการประเมินหนี้คือ ถ้าเรามีรายได้ 18,000 บาท ในแต่ละเดือนควรมีหนี้ที่ต้องจ่ายรวมแล้วไม่เกิน 35% ของรายได้ หรือเท่ากับ 6,300 บาท
การออมอาจไม่เพียงพอที่จะนำไปสู่ความมั่นคงในระยะยาว เพราะความผันผวนของสภาวะเงินเฟ้อต่าง ๆ แต่การลงทุนที่ถูกวิธีจะทำให้เกิดความมั่นคงในระยะยาวได้ ดังนั้นเลือกการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเองจึงสำคัญ สำหรับมือใหม่แนะนำให้ศึกษาการลงทุนในกองทุนรวม เพราะสามารถเริ่มลงทุนได้ด้วยเงินไม่กี่บาท 1 บาทก็เริ่มต้นลงทุนได้ จากนั้นอาจจะขยับไป หุ้น ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายทางการเงินและการยอมรับความเสี่ยงของแต่ละคน
การวางแผนทางการเงินที่ดี ไม่ได้หมายถึงการเก็บออมเงินอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการรู้จักตั้งเป้าหมาย มีเงินสำรองฉุกเฉิน รู้จักใช้เงินให้เป็น และกล้าที่จะลงทุนให้เงินเก็บเพิ่มพูน เพียงแค่นี้ไม่ว่าอนาคตจะเป็นแบบไหน อย่างน้อยเราก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมั่นคงและราบรื่นไปจนถึงชีวิตวัยเกษียณได้เลยทีเดียว
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |