fbpx
Search
Close this search box.

5 เทคนิคบริหารเงินสำหรับเด็กจบใหม่

เด็กจบใหม่หลายคนที่กำลังเริ่มต้นทำงาน ก็อยากมีเงินออมไว้ใช้ในอนาคตใช่ไหม แต่พอทุกสิ้นเดือนทีไรก็เหมือนจะสิ้นใจทุกที แผนเงินเก็บล่มพังไม่เป็นท่า แล้วจะทำยังไงไม่ให้ใช้เงินเดือนชนเดือน ครั้งนี้ ACU PAY จะมาบอกเคล็ดลับการบริหารเงินสำหรับวัยรุ่นสร้างตัวกัน 

1. ตั้งเป้าหมายทางการเงิน

แพลนจะสำเร็จถ้า ถ้าเราตั้งเป้าหมายการเงินให้ชัดเจน โดยวิธีการตั้งเป้าหมายให้ใช้หลัก SMART Goal อย่างเช่น มีความชัดเจน (Specific), ระบุจำนวนเงินได้ (Measurable), มีวิธีการที่จะทำให้สำเร็จได้ (Accountable), เป็นจริงได้ (Realistic) และมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน (Time Bound) 

จากนั้นแบ่งแพลนออกมาโดยตั้งออกมาเป็น 3 ระยะ เช่น

  1. เป้าหมายระยะสั้น (ไม่เกิน 3 ปี) คือ เป้าหมายที่ต้องการทำให้สำเร็จภายใน 1 – 3  ปี เช่น ออมเงินเพื่อซื้อโทรศัพท์ใหม่ 30,000 บาท ภายใน 1 ปี
  2. เป้าหมายระยะกลาง (3 – 7 ปี) คือ เป้าหมายที่ต้องการทำให้สำเร็จใน 3 – 7 ปี เช่น ออมเงิน 600,000 บาท เพื่อเก็บไว้ดาวน์รถอีก 5 ปีข้างหน้า 
  3. กำหนดเป้าหมายระยะยาว (7 ปีขึ้นไป) คือ เป้าหมายการออมที่ช่วยการันตีความมั่นคงในชีวิต เช่น เก็บเงินจำนวน 20 ล้านบาทเพื่อใช้ในวัยเกษียณอีก 30 ปีข้างหน้า

2. ออมอย่างน้อย 5 - 10%

จุดเริ่มต้นของการเงินที่ดีคือการออมเงินให้ได้ ซึ่งการออมเงินก็เหมือนกับการบริหารเงินของตัวเองให้เป็น โดยทุกครั้งที่เงินเดือนออกให้ “เก็บก่อนใช้” ทุกครั้ง อย่างน้อย 5 – 10 % ซึ่งการลองเริ่มต้นจากจำนวนน้อย ๆ ก่อนจะช่วยให้เรามีกำลังใจพร้อมกับฝึกวินัยทางการเงิน เพื่อพร้อมไปบริหารการเงินที่เพิ่มมากขึ้นต่อได้

3. เริ่มเก็บเงินออมเงินสำรองฉุกเฉิน

เงินสำรองฉุกเฉินถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับเด็กจบใหม่ที่กำลังเริ่มต้นทำงาน ซึ่งควรออมให้ได้ 3 – 6 เท่าของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน เพราะเราอาจจะ

เจอกับค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดได้ ไม่ว่าจะเป็น การเจ็บป่วย อุบัติเหตุ หรือแม้แต่การออกจากงานกะทันหัน ซึ่งการมีเงินสำรองฉุกเฉินจะทำให้เราอุ่นใจ ไม่ว่าจะเจอเหตุการณ์อะไรเข้ามา เราก็ยังสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้ตามปกติ 

4. ใช้เงินซื้อความสุขได้ แต่ต้องไม่เกินตัว

สำหรับเด็กจบใหม่ที่กำลังเริ่มทำงาน อาจคิดว่าการวางแผนการเงิน หมายถึง การใช้ชีวิตแบบประหยัดทุกเวลา อดมื้อกินมื้อ จริง ๆ แล้วไม่ใช่เลย เราสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ควบคู่ไปกับการวางแผนออมเงินได้ สามารถออกไปใช้ชีวิตโดยมีเงินที่ซื้อความสุขให้ตัวเองได้ แต่ทั้งนี้ เราก็ไม่ควรใช้เพลินจนเกินตัว เพราะหนี้อาจจะถามหาแบบไม่รู้ตัว ตัวอย่างการประเมินหนี้คือ ถ้าเรามีรายได้ 18,000 บาท ในแต่ละเดือนควรมีหนี้ที่ต้องจ่ายรวมแล้วไม่เกิน 35% ของรายได้ หรือเท่ากับ 6,300 บาท

5. ศึกษาการลงทุน และวางแผนลงทุนระยะยาว

การออมอาจไม่เพียงพอที่จะนำไปสู่ความมั่นคงในระยะยาว เพราะความผันผวนของสภาวะเงินเฟ้อต่าง ๆ แต่การลงทุนที่ถูกวิธีจะทำให้เกิดความมั่นคงในระยะยาวได้ ดังนั้นเลือกการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเองจึงสำคัญ สำหรับมือใหม่แนะนำให้ศึกษาการลงทุนในกองทุนรวม เพราะสามารถเริ่มลงทุนได้ด้วยเงินไม่กี่บาท 1 บาทก็เริ่มต้นลงทุนได้ จากนั้นอาจจะขยับไป หุ้น ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายทางการเงินและการยอมรับความเสี่ยงของแต่ละคน

การวางแผนทางการเงินที่ดี ไม่ได้หมายถึงการเก็บออมเงินอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการรู้จักตั้งเป้าหมาย มีเงินสำรองฉุกเฉิน รู้จักใช้เงินให้เป็น และกล้าที่จะลงทุนให้เงินเก็บเพิ่มพูน เพียงแค่นี้ไม่ว่าอนาคตจะเป็นแบบไหน อย่างน้อยเราก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมั่นคงและราบรื่นไปจนถึงชีวิตวัยเกษียณได้เลยทีเดียว

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่