fbpx
Search
Close this search box.

7 ความเสี่ยงวัยเกษียณ ที่อาจทำให้แผนการเงินสะดุด

เมื่อพูดถึงการวางแผนเกษียณ หลายคนคงไม่มีใครอยากเจอกับปัญหาการเงินวัยเกษียณ เลยเริ่มตั้งคำถามว่าควรมีเงินเท่าไหร่ถึงพอ ลงทุนอะไรถึงได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า แต่หลายคนอาจลืมตั้งคำถามหนึ่งกับตัวเอง นั่นก็คือ ปัจจัยเสี่ยงอะไรในอนาคตที่อาจทำให้เงินออมเราสะเทือนได้  

เมื่อพูดถึงการวางแผนเกษียณ หลายคนคงไม่มีใครอยากเจอกับปัญหาการเงินวัยเกษียณ เลยเริ่มตั้งคำถามว่าควรมีเงินเท่าไหร่ถึงพอ ลงทุนอะไรถึงได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า แต่หลายคนอาจลืมตั้งคำถามหนึ่งกับตัวเอง นั่นก็คือ ปัจจัยเสี่ยงอะไรในอนาคตที่อาจทำให้เงินออมเราสะเทือนได้  

วัยเกษียณก็ใช้ค่าใช้จ่ายสูง

จากการศึกษาของ Morgan Stanley Wealth Management พบว่า ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของผู้สูงวัยทั่วโลก เฉลี่ยแล้วมักสูงกว่าคนวัยทั่วไปเกือบ 2 เท่าตัว เพราะพวกเขาจะมีต้นทุนค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้น และอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 

นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอด ค่าใช้จ่ายวัยเกษียณจะสูงในช่วงแรก จากการท่องเที่ยวและพักผ่อน หลังจากนั้นจะลดลงในช่วงกลาง และสูงขึ้นในช่วงปลายจากค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาล ซึ่งนี่คือเหตุผลที่ทำให้ต้องเผื่อค่าใช้จ่าย สำหรับวัยเกษียณมากขึ้น

การวางแผนการเงินวัยเกษียณให้รอบคอบ จึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนว่าเราจะมีอายุอยู่ถึงตอนไหน ต้องลงทุนอะไรถึงจะได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า ซึ่งเรื่องเหล่านี้ควรลงมือทำตั้งแต่เนิ่น ๆ พร้อมกับการวางแผนออมเงิน อย่างไรก็ตาม หลายคนที่ประสบความสำเร็จในการเก็บเงิน กลับล้มเหลวในการวางแผนชีวิตหลังเกษียณ เพราะลืมบริหารความเสี่ยงสำคัญที่จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิต

ซึ่ง “ความเสี่ยง” เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นทั้งในเรื่องอุบัติเหตุ สุขภาพ ก็ล้วนแล้วแต่ทำให้มีเรื่องต้องใช้เงิน แล้วความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นในวัยหลังเกษียณ จะมีอะไรบ้าง ตาม ACU PAY มาเลย

ความเสี่ยงวัยเกษียณ ที่อาจทำให้แผนการเงินสะดุด

1. ความเสี่ยงจากการมีอายุยืน (Longevity Risk)

ลองคิดดูว่าหากอายุสั้น เช่น มีชีวิตอยู่ได้เพียง 1-2 ปีหลังจากเกษียณ หรืออัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นเป็นตัวเลข 2 หลัก ก็คงไม่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตมากนัก แต่ตรงกันข้าม 

ในโลกปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ทำให้คนเรามีอายุยืนมากขึ้น เห็นได้จากเมื่อ 30 ปีก่อน คนไทยอายุคาดการณ์เฉลี่ยอยู่ที่ 71.22 ปี แต่ในปัจจุบัน เพิ่มขึ้นมาเป็นถึง 77.74 ปี

ถ้ามีอายุยืนยาวจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นทั้งเรื่องสุขภาพ ค่าใช้จ่าย ที่ถ้าวางแผนการเงินมาไม่ดี ก็อาจทำให้เงินที่เก็บไว้ใช้ยามเกษียณไม่เพียงพอในอนาคตแน่นอน

2. ความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Risk)

ความเสี่ยงที่หลายคนอาจมองข้าม นั่นก็คือ “เงินเฟ้อ” เมื่อ 20 ปีก่อน ถ้าเรามีเงิน 40 บาท เราสามารถสั่งข้าวจากร้านตามสั่ง ได้เกือบ 2 จาน ตกจานละ 25 บาท แต่ปัจจุบันเงินจำนวนนี้ซื้อได้แค่ 1 จานเท่านั้น

การวางแผนเกษียณโดยไม่คำนึงถึงเงินเฟ้อ ถือว่าไม่ใช่แผนเกษียณที่ดีเท่าไร ดังนั้นก่อนวางแผนเกษียณทุกครั้งอย่าลืมนึกถึงผลกระทบจากเงินเฟ้อด้วย

3. ความเสี่ยงจากค่ารักษาพยาบาล (Health Expense Risk)

แน่นอนว่าถึงแม้จะยังไม่ถึงวัยเกษียณ หลายคนก็ต้องผ่านด่านที่ชื่อว่า การเจ็บป่วยมานักต่อนัก เมื่อเจ็บป่วยมากน้อยหรือยาวนานแค่ไหน ก็ต้องมีค่ารักษาพยาบาลตามมา 

จากสถิติพบว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของค่ารักษาพยาบาล หรือเรียกว่าอัตราเงินเฟ้อของค่ารักษาพยาบาลในประเทศไทยสูงถึง 8-9% แปลว่า ค่ารักษาพยาบาลจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวทุก ๆ 8-9 ปี (ตามกฎ 72) โดยยังไม่ได้คำนึงถึง ความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ทำให้วิธีการรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น 

4. ความเสี่ยงจากป่วยนอนติดเตียง (Long-Term Care Risk)

อีกหนึ่งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในช่วงสุดท้ายของชีวิต การเจ็บป่วยหนักอย่างเช่น เส้นเลือดในสมองตีบ เป็นอัมพาตจนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และต้องนอนติดเตียง แน่นอนว่าย่อมมีค่าใช้จ่ายมหาศาล เป็นภาระที่คนในครอบครัวต้องช่วยกันดูแล จากสถิติในสหรัฐฯ คนที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปี มีโอกาสตกอยู่ในสภาวะนี้สูงถึง 70%

5. ความเสี่ยงจากการลงทุนในตลาดเงิน (Investment Risk)

อยากที่รู้กันว่าการลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็น การลงทุน ตราสารทุน กองทุนรวม ทองคำ ย่อมมีความผันผวนในอนาคต ดังนั้นการลงทุนที่ดี ควรจะมีการกระจายความเสี่ยง เพื่อสร้างผลตอบแทนให้เป็นไปตามที่คาดหวังในระยะยาว ไปจนถึงช่วงหลังเกษียณ

6. ความเสี่ยงจากการถอนเงินมากเกินไป (Excess Withdrawal Risk)

อยากที่รู้กันว่าการลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็น การลงทุน ตราสารทุน กองทุนรวม ทองคำ ย่อมมีความผันผวนในอนาคต ดังนั้นการลงทุนที่ดี ควรจะมีการกระจายความเสี่ยง เพื่อสร้างผลตอบแทนให้เป็นไปตามที่คาดหวังในระยะยาว ไปจนถึงช่วงหลังเกษียณ

7. ความเสี่ยงคิดวิเคราะห์ลดลง และความเสี่ยงจากการถูกล่อลวงทางการเงิน (Declining Cognitive Abilities Risk and Financial Elder Abuse Risk)

เมื่ออายุมากขึ้น ความรู้ ความจำ ความสามารถจะลดลง โดยเฉพาะความสามารถในการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ การถูกหลอกลวงทางการเงิน ที่มักพบเห็นได้บ่อยตามข่าว จึงเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่ผู้สูงอายุหลายคนเผชิญ ดังนั้น การเป็นผู้สูงวัยที่มีเงินเป็นจำนวนหนึ่ง อาจตกเป็นเป้าของมิจฉาชีพ และถูกล่อลวงได้ง่าย ไม่ว่าจะทั้งคนนอก หรือแม้แต่คนในครอบครัว

และทั้งหมดนี้คือความเสี่ยงวัยเกษียณ ที่ถ้าไม่มีการวางแผนที่ดีและไม่รู้ทันความเสี่ยงเหล่านี้ ก็อาจทำให้แผนการเงินที่เราวางไว้สะดุดได้ 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่