ต้องยอมรับอย่างเลี่ยงไม่ได้เลยว่า TIKTOK เป็นแพลตฟอร์มที่มาแรงแซงทุกค่ายเลยในช่วงนี้ นอกจากเป็นแพลตฟอร์มเพื่อความบันเทิงแล้วยังเป็นแพลตฟอร์มที่ทุกคนสามารถขายสินค้าได้อีกด้วย ซึ่งเหตุนี่เองจึงเป็นที่มาของคำว่า ช้อปเปอร์เทนเมนท์ ที่จะสร้างมูลค่าได้มหาศาล
ช้อปเปอร์เทนเมนท์ ( Shoppertainment ) คือ เทรนด์ที่เราซื้อสินค้าผ่านการรับชมคอนเทนต์ที่ให้ความบันเทิงกับผู้ที่ได้เห็นตัวอย่างที่เราเห็นได้ชัดคือ คลิปในติ๊กต๊อก ซึ่งเราเองเข้ามาเสพความบันเทิงปกติ แต่เห็นคลิปหรือวิดีโอที่ทำให้เกิดความอยากได้หรือเห็นสินค้า ซึ่งใน Tiktok เองก็สามารถที่จะซื้อได้ผ่านวิดีโอนั้นโดยตรง ซึ่งง่ายต่อผู้ซื้อ และผู้ซื้อก็ได้เห็นสินค้าจริง และได้เห็นการใช้งานเป็นวิดีโอทำให้น่าสนใจมากกว่าการใช้ภาพนิ่ง จึงกลายเป็นโอกาสที่สำคัญและน่าจับตามองสำหรับแบรนด์และนักการตลาด
คุณสิรินิธิ์ วิรยศิริ หัวหน้าฝ่ายการตลาดธุรกิจ TikTok ประเทศไทย เผยว่า เทคโนโลยีได้สร้างทางเลือกมหาศาล จนผู้บริโภคกระหายที่จะแสวงหาการค้นพบใหม่ๆ ขณะเดียวกันนับเป็นการเปิดประตูสู่ยุคใหม่ของวงการอีคอมเมิร์ซ
ปัจจุบัน ช้อปเปอร์เทนเมนท์( Shoppertainment ) ถือเป็นแนวทางที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับแบรนด์ที่ต้องการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภค ผ่านคอนเทนต์ประเภทวิดีโอที่มีเสียงประกอบ ซึ่งบีซีจีคาดการณ์ว่า ตลาดช้อปเปอร์เทนเมนท์ ( Shoppertainment ) ในเอเชียแปซิฟิกจะเติบโตถึง 63% ต่อปี
สำหรับประเทศไทย ช้อปเปอร์เทนเมนท์มีโอกาสเติบโตสูงถึง 54% และมีมูลค่าสูงขึ้นจาก 3.4 พันล้านดอลลาร์ ไปเป็น 1.24 หมื่นล้านดอลลาร์ภายใน 2 ปี หรือ ในปี 2568
ปัจจุบัน ตลาดแฟชันและเครื่องประดับ ความงามและของใช้ส่วนตัว อาหารและเครื่องดื่ม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นหมวดหมู่ที่ใหญ่ที่สุดสำหรับช้อปเปอร์เทนเมนท์ในประเทศไทย โดยคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่ง คือ 55% ของมูลค่าตลาดทั้งหมดที่คาดการณ์ไว้
โดยหมวดเหล่านี้ 40-60% ได้รับอิทธิพลการซื้อจากคอนเทนต์วิดีโอ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวบ่งชี้ชั้นนำสำหรับการเพิ่มยอดขายที่อาจเกิดขึ้น”
นอกจากนี้ หมวดหมู่ยอดนิยม 3 อันดับแรกที่เน้นด้านช้อปเปอร์เทนเมนท์ในประเทศไทย ได้แก่ แฟชันและเครื่องประดับ 18% รองลงมาคือความงามและของใช้ส่วนตัว 17% และอาหารและเครื่องดื่ม 13%
ดังนั้นเป็นโอกาสใหม่ๆ สำหรับแบรนด์และธุรกิจที่ควรมองหาแนวทางการลงทุนเพื่อสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่งและเริ่มสร้างความบันเทิงให้กับผู้บริโภค ปัจจุบัน คนไทยเข้าใช้งาน TikTok โดยเฉลี่ย 12 ครั้งต่อวัน แต่ละคนใช้งานเฉลี่ย 100 นาทีต่อวัน
มีเส้นทางการซื้อที่กระจัดกระจายจนไม่สามารถโฟกัสได้ : 89% ของผู้บริโภคจะหาข้อมูลทั้งในและนอกแพลตฟอร์มที่ตัวเองกำลังใช้อยู่ โดย 63% จำเป็นต้องได้รับชมคอนเทนต์ 3-4 ครั้งถึงจะซื้อ และ 85% ของผู้บริโภคจะท่องไปในหลายแพลตฟอร์มก่อนจะตัดสินใจซื้อจริง
มีข้อกังขาเกี่ยวกับคอนเทนต์ที่ยัดเยียดความเป็นแบรนด์มากเกินไป : 34% ของผู้บริโภคไม่ไว้วางใจเนื้อหาที่มีความเป็นแบรนด์มากเกินไปจนรู้สึกว่าถูกยัดเยียด จนตัดสินใจไม่ซื้อแบรนด์นั้นๆ
ข้อมูลระบุว่า การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ปัจจัยที่สำคัญหนีไม่พ้น ความต้องการใช้งาน (Functional demand spaces) โดยคิดเป็น 60% ของการซื้อขายจากผู้บริโภคทั้งหมด โดยกลุ่มนี้มักซื้อตามความเคยชิน เน้นที่สินค้าและบริการที่คุ้นเคย หรือใช้อยู่แล้วโดยไม่ได้พิจารณาถึงทางเลือกใหม่ๆ
อีกหนึ่งปัจจัย ความต้องการด้านอารมณ์ (Emotional demand spaces) คิดเป็นประมาณ 40% ของการซื้อขายทั้งหมด เกิดจากความต้องการด้านอารมณ์ของผู้บริโภค
โดยเป็นพื้นที่ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงและโอกาสให้กับแบรนด์ เพราะผู้บริโภคจะพิจารณาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่เสมอและมีแนวโน้มที่จะเปิดรับและเปลี่ยนใจไปหาแบรนด์ใหม่ได้เช่นกัน
งานวิจัยเผยว่า ผู้บริโภคในเอเชีย-แปซิฟิกคาดหวังว่า แบรนด์ต่างๆ จะมอบความบันเทิงให้ก่อนที่จะเริ่มนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ กล่าวคือ มีกระบวนการสร้างการตระหนักรู้ในสินค้า กระตุ้นความต้องการและเปลี่ยนความต้องการนั้นเป็นการซื้อแบบไร้รอยต่อ
ความสนุกและความบันเทิง : 81% ของผู้บริโภคคาดหวังว่าจะเห็นคอนเทนต์ที่เน้นเล่าเรื่องและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ก่อน และ 76% ของผู้บริโภคสนใจคอนเทนต์ที่เน้นภาพเคลื่อนไหวเป็นหลัก
น่าเชื่อถือและแปลกใหม่ไม่เหมือนใคร : 71% ของผู้บริโภคเห็นว่าข้อมูลจริงและถูกต้องเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เนื้อหาดึงดูดน่าสนใจ
แรงบันดาลใจและอิสระในการเลือกซื้อหรือตัดสินใจ : 71% ของผู้บริโภคคาดหวังว่าแบรนด์จะไม่บังคับให้ตัดสินใจซื้อในระหว่างที่นำเนื้อหามาดึงดูดตนเอง
เทรนด์และคอมมูนิตี้ : 65% ของผู้บริโภคอยากได้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับแบรนด์จากผู้เชี่ยวชาญในคอมมูนิตี้ออนไลน์
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |