ไม่ว่าทำธุรกิจขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ สิ่งสำคัญที่เป็นตัวช่วยในการวิเคราะห์ธุรกิจคงหนีไม่พ้น “SWOT” เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อธุรกิจนั้น ๆ ซึ่งหลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินคำนี้มาบ้าง แต่สำหรับใครที่ยังไม่รู้ ครั้งนี้ ACU PAY จะพามาทำความรู้จักกับ SWOT Analysis ว่าเครื่องมือนี้คืออะไร มาจากไหน มีส่วนช่วยทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคงได้อย่างไร
SWOT เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกบริษัท (Internal and External Factors) รวมไปถึงการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต เป็นเครื่องมือที่เข้าใจง่าย ซึ่งถูกเรียกว่า SWOT MATRIX ซึ่งผู้คิดค้นคือ นักวิจัยและผู้ให้คำปรึกษาทางธุรกิจชาวเมริกัน ชื่อว่า อัลเบิร์ต ฮัมฟรี (Albert Humphrey) ในช่วงปลายปี 1960s และ ต้นปี 1970s
โดย SWOT Analysis ประกอบด้วย 4 อย่าง Strengths (จุดแข็ง), Weakness (จุดอ่อน), Opportunities (โอกาส) และ Threats (อุปสรรค) มีเป้าหมายให้บริษัทนำจุดแข็งไปปรับใช้ให้เหมาะกับสภาวะทางการตลาด แก้ไขปัญหาและลดความเสี่ยงที่ส่งผลเสียต่อองค์กร เพื่อทำธุรกิจต่อไปได้อย่างราบรื่น
ความสามารถในการสร้างสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพสูง โดดเด่นต่างจากคู่แข็ง และลูกค้าชื่นชอบในสินค้า ตัวอย่างเช่น หากคุณเป็นเจ้าของกิจการร้านอาหาร จุดแข็งคือ การคัดสรรวัตถุดิบนำเข้าเกรดพรีเมียม มีประสบการณ์การทำอาหารให้กับโรงแรมใหญ่ ๆ ระดับโลกมาแล้วกว่า 10 ปี
ทรัพยากรที่องค์กรขาดแคลน หรือ กิจกรรมทางธุรกิจที่คู่แข่งทำได้ดีกว่า ตัวอย่างเช่น การขาดแคลนเงินทุน หรือ การอบรมเรื่อง Service Mind ให้เจ้าหน้าที่บริการยังไม่มีประสิทธิภาพพอ ส่งผลให้คุณภาพงานบริการสู้คู่แข่งไม่ได้
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วส่งผลดีต่อองค์กร ตัวอย่างเช่น เทรนด์กระแสสินค้าในโลกอินเทอร์เน็ตที่มีผลต่อสินค้านั้น ๆ ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าที่คุณขายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
สถานการณ์หรือภาวะที่ส่งผลเสียต่อการทำธุรกิจ ตัวอย่างเช่น ภาวะโรคระบาดหรือเศรษฐกิจถดถอย ทำให้คนซื้อของน้อยลง
การวิเคราะห์ SWOT คือกุญแจสำคัญที่ช่วยจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่องค์กรต้องทำเพื่อให้ธุรกิจเติบโตขึ้นได้ และวางแผนอนาคตได้อย่างมีแบบแผน รวมถึงยังสามารถวิเคราะห์เพื่อมองภาพรวม ทบทวนธุรกิจอีกครั้ง เพื่อวางแผนรับมือแก้ปัญหาปัจจัยที่ควบคุมได้ พร้อมรับโอกาสและหลีกเลี่ยงภัยคุกคามในตลาดที่ต้องเจอได้อีกด้วย
การวิเคราะห์ SWOT ให้มีประสิทธิภาพ ควรร่วมมือกันวิเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็น ผู้นำองค์กร นักการตลาด นักการขาย บุคคลอื่น ๆ ภายในองค์กร หรือแม้แต่ความคิดเห็นของลูกค้า ก็สำคัญไม่ต่างกัน เพื่อจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในแง่มุมที่ต่างกันออกไป ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนการทำผลิตภัณฑ์ การทำโฆษณา จนไปถึงการขายและการบริการลูกค้าอีกด้วย และการวิเคราะห์ SWOT ควรมีการทำวิเคราะห์ทุกๆ 6-12 เดือน เพื่อคอยอัปเดตปัญหาหรือสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
SWOT Analysis ถือเป็นเครื่องมือตัวช่วยในการบริหารธุรกิจอย่างหนี่ง ซึ่งเมื่อเราลองนำจุดแข็งและโอกาส มารวมกัน ก็จะช่วยให้สามารถค้นหาสิ่งที่เราจะทำแล้วได้เปรียบในการแข่งขัน หรือแม้กระทั่งการรู้ถึงจุดอ่อนและอุปสรรค ที่ช่วยให้เราสามารถหาวิธีแก้ปัญหา ทำอย่างไรเพื่อลบจุดอ่อนและอุปสรรคนั้น เพื่อความมั่นคงของธุรกิจในอนาคต
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |