fbpx
Search
Close this search box.

วิเคราะห์ธุรกิจกับ SWOT Analysis

ไม่ว่าทำธุรกิจขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ สิ่งสำคัญที่เป็นตัวช่วยในการวิเคราะห์ธุรกิจคงหนีไม่พ้น “SWOT” เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อธุรกิจนั้น ๆ ซึ่งหลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินคำนี้มาบ้าง แต่สำหรับใครที่ยังไม่รู้ ครั้งนี้ ACU PAY จะพามาทำความรู้จักกับ SWOT Analysis ว่าเครื่องมือนี้คืออะไร มาจากไหน มีส่วนช่วยทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคงได้อย่างไร 

SWOT Analysis คืออะไร?

SWOT เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกบริษัท (Internal and External Factors) รวมไปถึงการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต เป็นเครื่องมือที่เข้าใจง่าย ซึ่งถูกเรียกว่า SWOT MATRIX ซึ่งผู้คิดค้นคือ นักวิจัยและผู้ให้คำปรึกษาทางธุรกิจชาวเมริกัน ชื่อว่า อัลเบิร์ต ฮัมฟรี (Albert Humphrey) ในช่วงปลายปี 1960s และ ต้นปี 1970s

โดย SWOT Analysis ประกอบด้วย 4 อย่าง Strengths (จุดแข็ง), Weakness (จุดอ่อน), Opportunities (โอกาส) และ Threats (อุปสรรค) มีเป้าหมายให้บริษัทนำจุดแข็งไปปรับใช้ให้เหมาะกับสภาวะทางการตลาด แก้ไขปัญหาและลดความเสี่ยงที่ส่งผลเสียต่อองค์กร เพื่อทำธุรกิจต่อไปได้อย่างราบรื่น

จุดแข็ง (Strength)

ความสามารถในการสร้างสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพสูง โดดเด่นต่างจากคู่แข็ง และลูกค้าชื่นชอบในสินค้า ตัวอย่างเช่น หากคุณเป็นเจ้าของกิจการร้านอาหาร จุดแข็งคือ การคัดสรรวัตถุดิบนำเข้าเกรดพรีเมียม มีประสบการณ์การทำอาหารให้กับโรงแรมใหญ่ ๆ ระดับโลกมาแล้วกว่า 10 ปี

จุดอ่อน (Weakness)

ทรัพยากรที่องค์กรขาดแคลน หรือ กิจกรรมทางธุรกิจที่คู่แข่งทำได้ดีกว่า ตัวอย่างเช่น การขาดแคลนเงินทุน หรือ การอบรมเรื่อง Service Mind ให้เจ้าหน้าที่บริการยังไม่มีประสิทธิภาพพอ ส่งผลให้คุณภาพงานบริการสู้คู่แข่งไม่ได้

โอกาส (Opportunities)

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วส่งผลดีต่อองค์กร ตัวอย่างเช่น เทรนด์กระแสสินค้าในโลกอินเทอร์เน็ตที่มีผลต่อสินค้านั้น ๆ ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าที่คุณขายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

อุปสรรค (Threats)

สถานการณ์หรือภาวะที่ส่งผลเสียต่อการทำธุรกิจ ตัวอย่างเช่น ภาวะโรคระบาดหรือเศรษฐกิจถดถอย ทำให้คนซื้อของน้อยลง

ทำไมการวิเคราะห์ SWOT ถึงสำคัญและมีประโยชน์อะไรต่อธุรกิจ

การวิเคราะห์ SWOT คือกุญแจสำคัญที่ช่วยจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่องค์กรต้องทำเพื่อให้ธุรกิจเติบโตขึ้นได้ และวางแผนอนาคตได้อย่างมีแบบแผน รวมถึงยังสามารถวิเคราะห์เพื่อมองภาพรวม ทบทวนธุรกิจอีกครั้ง เพื่อวางแผนรับมือแก้ปัญหาปัจจัยที่ควบคุมได้ พร้อมรับโอกาสและหลีกเลี่ยงภัยคุกคามในตลาดที่ต้องเจอได้อีกด้วย

วิธีการวิเคราะห์ SWOT?

การวิเคราะห์ SWOT ให้มีประสิทธิภาพ ควรร่วมมือกันวิเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็น ผู้นำองค์กร นักการตลาด นักการขาย บุคคลอื่น ๆ ภายในองค์กร หรือแม้แต่ความคิดเห็นของลูกค้า ก็สำคัญไม่ต่างกัน เพื่อจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในแง่มุมที่ต่างกันออกไป ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนการทำผลิตภัณฑ์ การทำโฆษณา จนไปถึงการขายและการบริการลูกค้าอีกด้วย และการวิเคราะห์ SWOT ควรมีการทำวิเคราะห์ทุกๆ 6-12 เดือน เพื่อคอยอัปเดตปัญหาหรือสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง 

SWOT Analysis ถือเป็นเครื่องมือตัวช่วยในการบริหารธุรกิจอย่างหนี่ง ซึ่งเมื่อเราลองนำจุดแข็งและโอกาส มารวมกัน ก็จะช่วยให้สามารถค้นหาสิ่งที่เราจะทำแล้วได้เปรียบในการแข่งขัน หรือแม้กระทั่งการรู้ถึงจุดอ่อนและอุปสรรค ที่ช่วยให้เราสามารถหาวิธีแก้ปัญหา ทำอย่างไรเพื่อลบจุดอ่อนและอุปสรรคนั้น เพื่อความมั่นคงของธุรกิจในอนาคต

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่