fbpx
Search
Close this search box.

Cross-Border QR Payment คืออะไร? สำคัญอย่างไรกับวงการ e-Payment ?

Cross-Border_QR_Payment

       แน่นอนว่าเรารู้จักกันดีอยู่แล้วว่า e-Payment คือ การชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน QR Code แต่เราสามารถใช้ได้แค่ในประเทศ ไม่สามารถใช้ในต่างประเทศได้ ประเทศไทยและเพื่อนบ้านในอาเซียนเองได้เล็งเห็นถึงช่องว่างและได้ดำเนินโครงการการเชื่อมโยงการชำระเงินในอาเซียน (ASEAN Payment Connectivity) เพื่อให้สามารถชำระเงินข้ามประเทศได้โดยผ่านโทรศัพท์มือถือ และในระยะแรกนี้เองบริการ Cross-Border QR Payment เป็นหนึ่งในบริการที่จะช่วยให้เราสามารถชำระเงินข้ามประเทศได้

Cross-Border QR Payment คืออะไร

      Cross-Border QR Payment คือ บริการสำหรับนักท่องเที่ยว นักธุรกิจ และผู้ที่ต้องการชำระเงินค่าสินค้าและบริการให้ร้านค้าในต่างประเทศ ด้วยการสแกน QR Code ผ่านโมบายแบงก์กิ้งซึ่งเริ่มจากธนาคารกรุงเทพ ส่วนธนาคารและสถาบันการเงิน (non-bank)กำลังเตรียมให้บริการ ซึ่งในระยะแรก สามารถสแกนจ่ายให้ร้านค้าในประเทศเวียดนาม และประเทศอินโดนีเซีย เท่านั้น โดยสังเกตสัญลักษณ์ ดังนี้

ประเทศเวียดนาม
ประเทศอินโดนีเซีย
Previous slide
Next slide

จุดเด่นบริการ และความสำคัญของ Cross-Border QR Payment

  1. ชำระเงินให้ร้านค้าในต่างประเทศได้ทันที ผ่านโมบายแบงก์กิ้ง ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
  2. มั่นใจ ได้รับ e-Slip ยืนยันการทำรายการทันที เมื่อทำรายการชำระเงินสำเร็จ
  3. ทราบอัตราแลกเปลี่ยน ณ ขณะทำรายการทันที ซึ่งอาจดีกว่าการชำระด้วยบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต
  4. ค่าธรรมเนียมอัตราแลกเปลี่ยนถูกลง

      นางพรนิจ ตุลย์วัฒนจิต ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน อาจยังเป็นข้อจำกัดสำคัญในการเดินทางท่องเที่ยวหรือติดต่อธุรกิจ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ดังนั้น บริการ Cross-Border QR Payment อาจจะตอบโจทย์ความต้องการใช้งานได้เฉพาะกลุ่ม เช่น ชาวอินโดนีเซียที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย หรือชาวไทยที่ทำงานในอินโดนีเซีย รวมถึงกรณีการสั่งซื้อสินค้าข้ามประเทศผ่านระบบออนไลน์ อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลายลง คาดว่าการเดินทางและการท่องเที่ยวในระดับภูมิภาคจะเริ่มฟื้นตัวกลับมา โดยเฉพาะในเมืองท่องเที่ยวสำคัญหรือเมืองเศรษฐกิจ และเชื่อมั่นว่าบริการ Cross-Border QR Payment จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากสอดคล้องกับพฤติกรรม New Normal ที่ลดการสัมผัสสิ่งของต่างๆ และหันมาทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลมากขึ้น

     จากข้อมูลของ ธปท.เผยว่า การให้บริการชำระเงินด้วย QR Code จะช่วยรองรับธุรกรรมการชำระเงินระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเมื่อสถานการณ์การเดินทางกลับสู่ภาวะปกติ เพราะในปี 2562 จำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างเวียดนามกับไทยมีสูงถึง 1.5 ล้านคน ด้วยบริการนี้ผู้ใช้บริการสามารถใช้ smartphone ชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน QR Code ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศและภูมิภาค

การใช้บริการ Cross-Border QR Payment ในต่างประเทศ ปลอดภัยหรือไม่

      การใช้บริการโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ สแกน QR Code ชำระเงินค่าสินค้าและบริการของร้านค้าในต่างประเทศ มีความปลอดภัยเป็นไปตามมาตรฐานการชำระเงิน เช่น

  • ผู้ชำระเงินเข้าใช้บริการโมบายแบงก์กิ้ง ด้วยรหัสผ่าน 6 หลัก
  • หน้าจอโมบายแบงก์กิ้งจะแสดงชื่อผู้รับเงิน มูลค่าสินค้าและบริการ สกุลเงินท้องถิ่นของร้านค้าในต่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยน และจำนวนเงินที่ต้องชำระเป็นสกุลเงินบาท (THB) ณ ขณะที่ทำรายการ ให้ผู้ชำระเงินตรวจสอบ ก่อนกดยืนยันการทำรายการทุกครั้ง
  • ผู้ชำระเงินสามารถกำหนดวงเงินในการชำระเงินต่อวันได้

บริการ Cross-Border QR Payment แตกต่างจากบริการชำระเงินด้วย Thai QR Code ภายในประเทศ หรือไม่

      ไม่แตกต่างกัน เพียงแต่การชำระเงินค่าสินค้าและบริการของร้านค้าในต่างประเทศ ธนาคารจะแปลงมูลค่าสินค้าและบริการ จากสกุลเงินต่างประเทศเป็นสกุลเงินบาท ด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ ขณะที่ทำรายการ ก่อนหักเงินจากบัญชี

เงื่อนไขบริการ Cross-Border QR Payment

  • บุคคลไทยและชาวต่างชาติสามารถใช้บริการโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ สแกน QR Code เพื่อชำระเงินในต่างประเทศได้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง   
  • สามารถชำระเงินค่าสินค้าและบริการผ่านช่องทาง Cross-Border QR Payment ได้สูงสุด 100,000 บาท/รายการ และสูงสุด 500,000 บาท/วัน (วงเงินในการชำระค่าสินค้าและบริการ ซึ่งรวมถึง Cross-Border QR Payment และบริการเติมเงินผ่านช่องทางโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ เป็นไปตามที่ลูกค้ากำหนด สูงสุด 2,000,000 บาท/วัน)
  • ธนาคารจะหักเงินในบัญชีสกุลเงินบาททันทีเมื่อยืนยันการทำรายการ โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ ขณะที่ทำรายการของธนาคารในประเทศไทยที่เป็นพันธมิตรกับธนาคารของร้านค้าผู้ให้บริการรับชำระเงินในต่างประเทศ
  • ไม่มีค่าธรรมเนียมบริการ
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหน
เพื่อนๆสามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่

บทความที่เกี่ยวข้อง