เมื่ออนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน เราไม่มีทางจะรู้ได้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้น อย่างสภาวะวิกฤตโควิดที่ผ่านมา หรือแม้กระทั่งสภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่กำลังดำเนินอยู่ อาชีพที่มั่นคงวันหนึ่งอาจหายวับไปโดยไม่ทันตั้งตัว รายได้หดหาย แต่รายจ่ายกลับเพิ่มขึ้น ซึ่งการมีเงินสำรองฉุกเฉินจึงเป็นเหมือนแผนสำรองในชีวิต ที่จะสามารถให้เราดำเนินชีวิตฝ่าอุบัติที่ลำบากไปได้ ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตอะไรก็ตาม วันนี้ ACU PAY จึงพามาทำความเข้าใจ Emergency Fund หรือ เงินสำรองฉุกเฉิน ที่ทุกคนต่างต้องมีสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
เป็นเงินเก็บที่สามารถนำมาใช้ได้ทันทีหากมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นหรือมีเหตุการณ์อะไรที่จำเป็นต้องใช้เงินแบบกะทันหันเร่งด่วน โดยไม่สามารถวางแผนล่วงหน้าได้ เช่น เกิดอุบัติเหตุ, รถยนต์ต้องส่งซ่อมด่วน, ตกงานกะทันหัน หรือ ผ่าตัดฉุกเฉิน เป็นต้น
เบื้องต้นเราควรมีเงินสำรองฉุกเฉิน 3 – 6 เท่าของค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน ซึ่งรวมทั้งค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และเงินออมต่อเดือนที่เราตั้งเป้าหมายไว้ ขั้นตอนแรกควรคำนวณค่าใช่จ่ายคงที่ (Fixed Cost) ต่อเดือนก่อน ยกตัวอย่างเช่น
สมมติว่ามียอดค่าใช้จ่ายทั้งรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 40,000 บาท ควรทยอยเก็บเงินออมฉุกเฉินให้ได้อย่างน้อย 3 – 6 เท่าของค่าใช้จ่ายและเงินออม หรือประมาณ 120,000 – 240,000 บาท หรือมากกว่านั้นจะยิ่งดี
อีกหนึ่งขั้นตอนคือ การกำหนดระยะเวลาเก็บเงินออมให้ชัดเจน ว่าจะเก็บเงินก้อนนี้ในระยะเวลากี่เดือน ซึ่งข้อดีของการรวมเงินออมต่อเดือนไว้ในการคำนวณเสมอ คือ เงินส่วนนี้จะช่วยให้คุณไปถึงเป้าหมายการเงินในระยะยาวได้ตามที่ตั้งใจโดยไม่ต้องหยุดชะงักเมื่อเจอเรื่องฉุกเฉินในชีวิต
ยกตัวอย่างเช่น หากเราตั้งเป้าว่าจะเก็บเงินสำรองฉุกเฉินรวม 200,000 บาท แต่มีเงินสดอยู่แล้ว 50,000 บาท แสดงว่าจะต้องเก็บเงินเพิ่มอีก 150,000 บาท
หากตั้งเป้าหมายว่าจะเก็บเงินก้อนนี้ภายในระยะเวลา 1 ปี หรือ 12 เดือน ใช้วิธีคำนวณโดยการนำ 150,000 บาท จากเงินที่ต้องการเก็บเพิ่ม หารด้วย 12 เดือน เท่ากับว่าจะต้องแบ่งเงินเพื่อเติมไปในเงินสำรองฉุกเฉินให้ได้เดือนละ 12,500 บาท
ทั้งนี้การคำนวณเงินสำรองฉุกเฉินอาจขึ้นอยู่กับตัวแปรอย่างอื่นประกอบด้วย เช่น หน้าที่การงาน การครอบคลุมของเงินประกัน อายุ หรือแม้แต่รายได้ทางอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น
ตัวอย่างถัดไป
ที่เก็บเงินสำรองฉุกเฉินต้องสามารถถอนมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อมีเหตุจำเป็น ซึ่งที่เก็บเงินนี้ต้องมีสภาพคล่องสูง จึงแนะนำให้เก็บเงินเป็น 2 ทางเลือก ได้แก่ บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่ให้ดอกเบี้ยสูง หรือ หน่วยลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ สภาพคล่องสูง สามารถนำมาใช้จ่ายได้ในระยะเวลา 1-2 วัน ยกตัวอย่างเช่น กองทุนรวมตลาดเงิน หน่วยลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น เป็นต้น
การมีเงินสำรองฉุกเฉินเป็นสิ่งที่จะช่วยรองรับแรงกระแทกจากปัจจัยที่กระทบสถานะการเงินของเราไม่ทันตั้งตัว ทั้งนี้เราสามารถค่อย ๆ ทยอยสะสมจากเงินออมที่ได้ต่อเดือน จนเต็มวงเงินที่ต้องการของเงินสำรองฉุกเฉิน เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้ไปเงินก้อนนี้ออกไป ก็ต้องกลับเติมใหม่ให้เต็มเหมือนเดิม และที่สำคัญไม่ควรเอาเงินสำรองฉุกเฉินมาใช้ผิดวัตถุประสงค์ ถ้าอยากได้ต้องออมเงินแยกอีกกระเป๋าต่างหากจะดีที่สุด
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |