fbpx
Search
Close this search box.

4 มุมมองทางการเงินของคุณเป็นแบบไหน

Money Script

เราทุกคนต่างมีมุมมองแนวคิดทางการใช้ชีวิตที่ต่างกัน ทั้งไลฟ์สไตล์ วิธีคิด ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และสังคมที่เติบโตมา และมุมมองเหล่านี้ก็ส่งผลไปถึงในเรื่องการใช้จ่าย ไปจนถึงสไตล์การลงทุนที่แตกต่างกันออกไปด้วย ซึ่งครั้งนี้ ACU PAY จะพาทุกคนไปสำรวจ 4 มุมมองทางการเงินว่าคุณนั้นเป็นแบบไหน

4 มุมมองการเงินด้วยทฤษฎี Money Script

Dr. Brad Klontz นักจิตวิทยาการเงินจาก Creighton University สหรัฐอเมริกา ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Mind Over Money ได้ทำการศึกษาและสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องความเชื่อทางการเงิน ที่เรียกว่า “Money Script” ซึ่งเป็นผลมาจากพื้นฐานทางครอบครัว ที่ส่งผลต่อทัศนคติและมุมมองที่มีต่อเรื่องเงินในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่าย การเก็บออม การรับความเสี่ยงในการลงทุน​

จากบทวิจัยเรื่อง Money Belief and Financial Behaviors: Development of the Klontz Money Script Inventory ซึ่งสามารถบ่งบอกลักษณะความเชื่อทางการเงินของแต่ละบุคคล จากนั้นได้ลงพื้นที่ไปสอบถามกลุ่มตัวอย่าง โดยได้ข้อสรุป เป็นการแบ่งคนออกเป็น 4 กลุ่ม ตามนี้

1. Money Avoidance คนกลุ่มนี้มองว่า "เงิน คือ ความชั่วร้าย"

คนกลุ่มนี้มักมีความเกี่ยวข้องกับคนที่ร่ำรวยกว่า พวกเขามักมองว่า คนรวยเป็นพวกโลภมาก และมักตั้งคำถามว่า คนเราจะมีเงินไปมากมายทำไม ในเมื่อคนอื่นยังขาดแคลน 

คนกลุ่มนี้จึงมักใช้จ่ายโดยไม่ใส่ใจอะไร หาได้เท่าไรก็ใช้เท่านั้น ไม่เน้นเก็บออม ทำให้มีแนวโน้มที่จะชอบลงทุนตามกระแส เพราะไม่สนใจในเรื่องกำไร-ขาดทุน 

การปรับมุมมอง : คนกลุ่มนี้ควรแยกความดีความชั่วออกจากเงินก่อน มองเงินให้เป็นเพียงแค่วัตถุอย่างหนึ่ง วัตถุที่เราสามารถใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับชีวิตผ่านประสบการณ์และการให้ต่าง ๆ 

2. Money Worship คนกลุ่มนี้มองว่า "เงิน เป็น พระเจ้า"

คนกลุ่มนี้จะมีกรอบความคิดว่า การมีเงินคือกุญแจสู่ความสุข พวกเขามักรู้สึกว่าทุกปัญหาสามารถแก้ได้ด้วยการมีเงินที่เพิ่มขึ้น คนเหล่านี้จึงมีแนวโน้มที่จะทำงานหนัก เพื่อให้ได้เงินมาก ๆ แล้วนำเงินไปใช้จ่ายสร้างความสุข ทำให้พวกเขามีแนวโน้มที่จะต้องแบกรับหนี้บัตรเครดิตสูง 

นอกจากนี้คนกลุ่มนี้ยังเอางานไว้ก่อนครอบครัว และยังชอบให้หรือยืมเงินให้คนอื่น ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่มีเงินเยอะก็ตาม ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้น คนกลุ่มนี้มีความเป็นไปได้ที่จะรับความเสี่ยงได้สูง เพราะพวกเขามักคาดหวังผลตอบแทนสูงเพื่อให้ตัวเองมีร่ำรวยเร็ว

การปรับมุมมอง : เตือนตัวเองว่าเงินสำคัญก็จริง แต่ไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต ให้ลิสต์ความสำคัญในชีวิตอย่าง ครอบครัว คนรัก สัตว์เลี้ยง งานอดิเรก สำรวจความสุขของคุณโดยไม่ต้องควักกระเป๋าใช้เงินบ้าง แม้ว่าเงินสามารถให้อิสรภาพและอำนาจได้ แต่ไม่ใช่เส้นทางเดียวสู่ความสำเร็จหรือความสุข

3. Money Status คนกลุ่มนี้มองว่า “เงิน เป็น เครื่องแสดงสถานะ”

คนกลุ่มนี้มักจะเชื่อมโยงคุณค่าของตัวเองกับมูลค่าเงินที่พวกเขามี ใช้เงินสร้างตัวตน มักจ่ายเงินไปกับข้าวของต่าง ๆ เพื่อเป็นที่ยอมรับในสังคม พื้นฐานคนกลุ่มนี้ อาจเติบโตมาในสภาพแวดล้อมและสังคมที่ต่ำกว่า หรืออยู่ในครอบครัวที่ยกย่องคนที่มีเงิน 

เลยมีโอกาสที่จะใช้เงินเกินตัว เสี่ยงเป็นหนี้ และอาจจับพลัดจับผลูไปยังวงการพนันได้ เพื่อให้ได้เงินมาใช้จ่าย พวกเขามักพึ่งพาเงินของผู้อื่น และอาจชอบซ่อนการใช้จ่ายไม่ให้คนที่บ้านรู้

สำหรับรูปแบบการลงทุนของคนกลุ่มนี้จะคล้ายกับ Money Worship คือ พร้อมเสี่ยง เพื่อสร้างทางลัดไปสู่ความร่ำรวย

การปรับมุมมอง : หากกำลังอยู่ในกลุ่มนี้ ให้สำรวจว่าทำไมเราถึงยังต้องพึ่งเงินเป็นตัวแสดงสถานะ นอกจากนี้ให้ลองตั้งคำถามกับตัวเองว่า ถ้าไม่มีใครรู้ว่าเราใช้เงินไปกับอะไร ลำดับความสำคัญของเรานั้นจะเปลี่ยนไปหรือไม่

4. Money Vigilance คนกลุ่มมองว่า “เงิน เป็น ของรัก”

คนกลุ่มสุดท้ายนี้ถือว่าเป็นกลุ่มที่มองเงินดีที่สุดในทั้งหมด 4 กลุ่มวกเขามักมีเป้าหมายในการวางแผนออมเงิน เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาสามารถเก็บเงินได้ตามเป้าหมายและชานฉลาดที่สุด 

แต่ถึงอย่างนั้น มักมองทุกเรื่องเป็นเรื่องเงินทอง เงินมีไว้เก็บ ไม่ได้มีไว้ให้ใช้ บางครั้งจึงถูกมองว่าเป็นคนขี้เหนียว เพราะมักจะคิดแล้วคิดอีกกว่าจะยอมควักกระเป๋าจ่ายแต่ละบาท 

พวกเขามักหลีกเลี่ยงการยืมเงินจากผู้อื่น และเลี่ยงที่จะใช้บัตรเครดิต ทำให้อาจไม่มีประวัติไว้ทำเรื่องในการกู้ในอนาคต 

ในส่วนรูปแบบการลงทุนของคนกลุ่มนี้ จะรอบคอบ ช้าแต่ชัวร์ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่แน่นอนตามที่หวัง เพราะคนกลุ่มนี้รับเรื่องการขาดทุนไม่ได้

การปรับมุมมอง : คนกลุ่มนี้จึงเป็นที่ต้องการใน 4 ประเภท เพราะพวกเขารู้จักจัดการเรื่องงบประมาณ การออม หรือการวางแผน แต่ถ้าพบว่าเป้าหมายทางการเงินของเราส่งผลลบต่อสุขภาพกายและจิตของตัวเอง คุณอาจต้องพิจารณาหาหนทางในการบรรลุเป้าหมายนั้นใหม่อีกครั้ง

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่