เคยไหมผิดใจอะไรกัน แต่ก็ไม่พูดออกมาตรง ๆ จนความโกรธนั้นแสดงออกมาในทั้งคำพูดเสียดสี แกล้งทำเป็นดีด้วยแต่ตัวเองไม่พอใจอยู่ลึก ๆ ถ้ากำลังเจอสถานการณ์นี้อยู่ละก็ เอซียูเพย์ จะพามาทำความรู้จัก Passive Agressive และมาเช็กพฤติกรรมนี้กันว่าเป็นหรือเจอกันอยู่รึเปล่า!q
พฤติกรรม passive-aggressive คือ พฤติกรรมร้ายทางอ้อม เมื่อคนเหล่านี้ไม่พอใจ แทนที่จะพูดแบบตรงไปตรงมา ว่าเขาโกรธ ไม่เห็นด้วย หรือบอกว่าเราผิดยังไง กลับเลือกที่จะแสดงออกในรูปแบบอื่นแทน ด้วยการใช้คำพูด การกระทำ สร้างความหงุดหงิด ขุ่นเคือง และไม่สบายใจ ให้กับอีกฝ่ายนั่นเอง
ซึ่งพฤติกรรม Passive-Aggressive นี้ สามารถเกิดในทุกที่ ไม่ว่าจะที่ทำงาน ที่บ้าน โรงเรียน คนในชุมชน หรือกับคนรัก โดยคนที่แสดงพฤติกรรมนี้เชื่อว่า ถ้ามีคนรับรู้ว่าพวกเขามีอารมณ์โกรธ จะส่งผลไม่ดีกับตัวเขา และ เป็นสิ่งที่ไม่ได้รับการยอมรับ เลยเลือกที่จะแสดงพฤติกรรมออกมาในรูปแบบรอยยิ้มที่แฝงด้วยความไม่พอใจและโกรธแทน
ลองมาสำรวจพฤติกรรมของตัวเองหรือคนรอบข้างดู ว่าเคยทำพฤติกรรมนี้กันบ้างรึเปล่า?
บางครั้งคำพูดหรือข้อความที่ฟังผิวเผินอาจเป็นคำชมหรือความเป็นห่วง แต่ถ้าลองตั้งใจพิจารณาดี ๆ มักแอบแฝงด้วยการเสียดสี ประชดประชัน เหยียดหยาม หรืออคติบางอย่าง โดยที่ผู้ฟังไม่รู้ตัว
ยกตัวอย่างคำพูดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราไม่รู้เลยว่าเขากำลังหลอกว่าเราอยู่ ด้วยคำพูดอันสำบัดสำนวนของชาวเกียวโต ที่แม้แต่คนญี่ปุ่นด้วยกันเองยังตีความคำพูดของพวกเขาไม่ออก เช่น
ถ้าคนเกียวโตชมว่า “นาฬิกาเธอสวยนะ” นั่นแปลว่า “คุยนานไปแล้ว ชั้นเบื่อแล้ว กลับไปได้แล้วจ้า” แบบสุภาพ หรือถ้าคนเกียวโต “ยื่นหมากฝรั่ง” มาให้ตอนที่คุณกำลังพูดอยู่ ไม่ได้หมายถึงเขามีน้ำใจแบ่งปันขนมให้เรา แต่นั่นหมายความว่า พวกเขาบอกให้คุณ “หยุดพูดมากได้แล้ว” นั่นเอง
ถึงจะฟังดูดี ที่สามารถต่อว่าอีกฝ่ายให้เจ็บ ประสบผลสำเร็จ แต่หลายคนที่โดนถูกทำร้ายให้เจ็บใจ ด้วยวิธี Passive-Aggressive บ่อย ๆ อาจเกิดอาการวิตกกังวล เก็บมานั่งคิดเล็กคิดน้อย ว่าที่เขาแสดงออกมาคือ เขาเกลียดเราหรือไม่พอใจอะไรเราตรงไหนรึเปล่า
สูดลมหายใจเข้าลึก ๆ พยายามจัดการอารมณ์ตัวเองด้วยการระบุอารมณ์ที่กำลังเกิดขึ้น และรับรู้ว่าไม่แปลกที่เราจะอารมณ์เสีย เศร้า เสียใจ เพราะเราต่างก็เป็นมนุษย์ธรรมดา
พูดความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ด่าว่า แล้วก็พูดถึงผลของคำพูดนั้น ให้อีกฝ่ายรับรู้ เช่น เรารู้สึกแย่ที่เธอพูดหลอกด่าเรานะเมื่อกี้ มันทำให้เรารู้สึกกังวลเวลาอยู่ใกล้เธอ
ถ้าพูดแล้วอีกฝ่ายยังมีพฤติกรรมแบบเดิมอยู่ เราควรตั้งขอบเขตให้ชัดเจนว่า ถ้าเขายังทำแบบนั้นอยู่ เราจะไม่คุยด้วยแล้วเดินออกไปทันที อีกฝ่ายจะค่อย ๆ เรียนรู้ว่า ไม่ใช่ว่าเขาจะทำอะไรตามใจตัวเองก็ได้ เพราะไม่มีใครทนพฤติกรรมได้ตลอด ทุกอย่างการกระทำควรมีขอบเขต และยังช่วยป้องกันสุขภาพจิตของคุณด้วย
ซึ่งสาเหตุหลักของพฤติกรรม Passive-Aggressive คือความกลัวในการเผชิญหน้า กลัวการถูกปฏิเสธที่สุดและกลัวสังคมไม่ยอมรับ คนที่นิสัย Passive-Aggressive จึงคิดค้นวิธีอื่นในการแสดงออกถึงความไม่พอใจได้หลากหลายสถานการณ์ อย่างเช่น การตอบโต้ของฝั่งที่มีอำนาจมากกว่า
แต่สุดท้ายแล้วถ้าเรามีสังคมที่สามารถพูดกันและวิจารณ์ได้ตรง ๆ พฤติกรรม Passive-Aggressive อาจค่อย ๆ ลดลง และเลือกที่จะเผชิญหน้ากับการขัดแย้ง ลดบรรยากาศท็อกซิกในทุกสังคมที่เราอยู่ก็เป็นได้
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |