fbpx
Search
Close this search box.

ซื้อก่อนผ่อนทีหลัง” ภาระหนี้ครัวเรือนที่คนไทยกำลังเผชิญ

เมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา เครดิตบูโร เปิดเผยว่า หนี้เสียไทยในไตรมาส 2 กลับมาพุ่งทะลุ 1 ล้านล้านบาทอีกครั้ง และยังมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งการมาแรงของสินเชื่ออย่าง ‘ซื้อก่อนผ่อนทีหลัง’ อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยให้คนไทยสร้างหนี้เพิ่มหนี้มากขึ้น

คนไทยสร้างหนี้ง่ายขึ้นด้วย สินเชื่อแบบใหม่ ‘ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง’

ด้วยข้อจำกัดด้านการสมัครบัตรเครดิตและการทำเรื่องขอสินเชื่อ ทำให้เกิดรูปแบบการชำระเงินแบบใหม่ที่เรียกว่า ‘Buy Now Pay Later’ (BNPL) หรือ ‘ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง’ ที่กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) และเอื้อให้คนไทยสร้างหนี้เพิ่มมากขึ้น

Buy Now Pay Later หรือ BNPL คือ รูปแบบการชำระเงินแบบหนึ่ง ที่เราจะได้สินค้าหรือบริการก่อน แล้วค่อยจ่ายเงินหรือเลือกเป็นแบ่งจ่ายทีหลัง โดยส่วนมากการชำระเงินแบบก้อนเดียวของ Buy Now Pay Later จะไม่เสียดอกเบี้ย แต่สำหรับการผ่อนชำระเป็นงวด ๆ บางครั้งอาจมีดอกเบี้ย แต่จะเป็นดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำ หรืออาจไม่เสียค่าดอกเบี้ยในการผ่อนชำระเลย ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่บริษัทกำหนดไว้ 

ซึ่งการสมัครที่ไม่ยุ่งยากและซับซ้อน แค่ใช้เอกสารยืนยันตัวตนหรือการตรวจสอบประวัติทางการเงินนิดหน่อย สิ่งนี้เองทำให้ Buy Now Pay Later เติบโตอย่างก้าวกระโดดในเวลาไม่กี่ปี และมีฐานลูกค้ารายใหญ่ของอีคอมเมิร์ซอย่างกลุ่มคนเจน ‘มิลเลนเนียล’ (Millennials) และ ‘เจนแซด’ (Gen Z) ที่ต้องการซื้อของแบบผ่อนชำระ แต่คุณสมบัตืไม่ถึงเกณฑ์การขออนุมัติสินเชื่อ ซึ่งการมี Buy Now Pay Later กระตุ้นให้คนกลุ่มนี้ตัดสินใจซื้อสินค้าง่ายขึ้น ถือเป็นโอกาสเพิ่มรายได้ของภาคธุรกิจในเวลาเดียวกัน

ต้นเหตุปัญหาหนี้ครัวเรือนไทย 2566

มีการเปิดเผยตัวเลขไตรมาส 2 ของหนี้ครัวเรือนไทย 2566 ผลปรากฎว่ามีคนไทยกว่า 1 ใน 3 แบกหนี้ครัวเรือนที่ยังเดินหน้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ 15.96 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90.6% ของ GDP ด้วยหนี้ครัวเรือนมหาศาล

ข้อมูลจากเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) กล่าวว่า ปัจจัยแรกมาจากหนี้เสียในช่วงโควิด-19 ที่ปัจจุบันมีลูกหนี้ทั้งหมด 4.9 ล้านบัญชี คิดเป็นหนี้ทั้งสิ้นราว 3.7 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นจำนวนคนที่ 3.4 ล้านคน ที่เป็นหนี้เสียหรือประสบภัยการเงิน ในช่วงโควิด-19 จากก่อนหน้า กลุ่มนี้ถือเป็นลูกหนี้ที่ชำระดีมาโดยตลอด

อีกปัจจัยมาจากพฤติกรรมการใช้จ่ายที่เข้าขั้นแย่ หนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่ไม่สร้างรายได้ในอนาคต หนี้เสียที่เกิดขึ้น 1 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นหนี้เสียจากรถยนต์ 2 แสนล้านบาท หนี้เสียบ้าน 1.8 แสนล้านบาท และหนี้เกษตรกรอีกราว 6-8 หมื่นล้านบาท และหนี้เสียที่มากที่สุด คือ หนี้เสียสินเชื่อบุคคล กู้เป็นก้อนผ่อนเป็นงวดสูงถึง 2.5 แสนล้านบาท จากการ ‘กู้ไปก่อนผ่อนทีหลัง’

ซึ่งการมีสินเชื่ออันหอมหวานอย่าง Buy Now Pay Later ก็จะยิ่งกระตุ้นให้คนใช้เงินเยอะเกินตัว และคิดน้อยลงมากขึ้น จนกลายเป็น ‘กับดักหนี้’ ที่ไม่รู้จบ และอาจกระทบต่อภาคเศรษฐกิจมากกว่าที่คิด

บทสรุปปัญหาหนี้ครัวเรือนไทย

ประเภทหนี้เสียทั้งหมดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ คือ 

  1. หนี้เสียที่มีอยู่ในปัจจุบัน 
  2. หนี้ที่เป็นปัญหาเรื้อรัง กู้โปะเรื่อย ๆ 
  3. หนี้ใหม่ที่เพิ่มขึ้นเร็วและอาจเป็นหนี้เสียในอนาคต เช่น หนี้ส่วนบุคคล หนี้การเกษตร 
  4. หนี้นอกระบบ

ซึ่งปัญหานี้ทั้งหมดนี้ต้องรีบแก้โดยด่วน โดยเฉพาะประเทศไทยที่กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้รัฐบาลต้องมีภาระกับเงินสวัสดิการที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต แต่ขณะที่คนกลุ่มวัยทำงานสร้างรายได้น้อยลงแต่สร้างหนี้เสียมากขึ้น ก็อาจส่งผลกระทบระยะยาวต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ และเสถียรภาพระบบการเงินประเทศได้ 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่