ใครที่ติดตามข่าวธุรกิจบ่อย ๆ น่าจะเคยได้ยินและคุ้นเคยกับข่าวอย่าง บริษัทยักษ์ใหญ่ที่เรารู้จักได้เข้า IPO ในตลาดหุ้นแล้ว IPO ที่ว่านี้หมายถึงอะไร แล้วทำไมบริษัทส่วนใหญ่ถึงพากันเข้า IPO ถ้าอยากรู้คำตอบแล้ว เดี๋ยว ACU PAY จะพามาทำความรู้จักความหมายของ IPO แล้วเหตุผลว่าทำไมบริษัทใหญ่ ๆ ถึงอยากเข้า
โดยปกติแล้ว ในการทำธุรกิจถ้าอยากขยับขยายกิจการ ก็ต้องไปหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติม ถ้าไม่ใช้ทุนที่ตัวเองมีอยู่แล้ว ก็ต้องไปทำการกู้ธนาคาร แต่ถ้าเงินกู้มานั้นยังไม่เพียงพอ การจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ ก็เป็นอีกวิธีที่ใช้หาเงินทุน หรือ IPO ที่คุ้นเคย
IPO (Initial Public Offering) หมายถึงการที่บริษัทเสนอขายหุ้น “ครั้งแรก” ให้กับนักลงทุนหรือประชาชนทั่วไป จากนั้นบริษัทจะเปลี่ยนสภาพจาก “บริษัทเอกชน” เป็น “บริษัทมหาชน” ที่สามารถให้ผู้อื่นเข้ามาร่วมลงทุนด้วย ซึ่งบริษัทที่ทำการ IPO จะถูกจดทะเบียนเข้ามาสู่ตลาดหลักทรัพย์โดยผ่านขั้นตอนการพิจารณาคุณสมบัติจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
วัตถุประสงค์ที่บริษัททำการ IPO ส่วนใหญ่จะเป็นการต้องการขยับขยับขยายธุรกิจให้เติบโตมากยิ่งขึ้น และเริ่มมองหาเงินลงทุนที่ไม่ใช่การระดมทุนในต่าง ๆ หนึ่งในช่องทางที่ตอบโจทย์บริษัทเหล่านี้ก็คือการเสนอขายหุ้นให้กับนักลงทุนที่สนใจ อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้กับนักลงทุนหรือประชาชนที่สนใจได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นเจ้าของบริษัทอีกด้วย
อย่างที่กล่าวไปว่าการที่บริษัทจะสามารถ IPO ได้ก็ต้องมีการตรวจสอบจาก ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะมีหลักเกณท์ที่ใช้ในการพิจารณาไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างการถือหุ่น คุณสมบัติของกรรมการและผู้บริหาร งบการเงิน และระบบภายในองค์กรที่มั่นคงและน่าเชื่อถือ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะต้องถูกรายงานให้กับนักลงทุนที่ต้องการหุ้น IPO ตัวนี้ด้วย
สำหรับบริษัทที่เปิด IPO แน่นอนว่าได้เงินไปต่อยอดธุรกิจ ที่มีต้นทุนถูกลง ซึ่งการ IPO จะแตกต่างจากการหาแหล่งเงินทุนต่าง ๆ เช่น การกู้ธนาคาร ตรงที่การ IPO ไม่ต้องจ่ายคืนเงินต้น หรือจ่ายดอกเบี้ย แต่เป็นการได้เงินทุนมาแลกกับหุ้นของบริษัทตนเอง โดยอาจจะจ่ายเป็นปันผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น
มากกว่านั้นยังเพิ่มสภาพคล่องให้กับบริษัทมากขึ้น ทำให้ธุรกิจสามารถขยับขยายที่จะไปเปิดสาขาต่างประเทศหรือปล่อยสินค้าสู่ตลาดเพื่อนบ้าน พร้อมสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจมากขึ้น เพราะมีการตรวจสอบทางบัญชีที่เข้มงวด
นอกจากนี้แล้ว การเข้าตลาดหลักทรัพย์ยังช่วยให้บริษัทเป็นที่รู้จักมากขึ้น ทำให้ประชาชนรู้จักสินค้ามากขึ้น และรู้ว่าธุรกิจนั้นทำเกี่ยวกับอะไร สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลต่อลูกค้าที่จะเข้ามาซื้อสินค้าหรือใช้บริการเพิ่มขึ้น
บริษัทนั้นอาจเสียความเป็นส่วนตัว ต้องเปิดเผยข้อมูลบริษัท และเปิดเผยข้อมูลภายในให้กับสาธารณชน นอกจากนี้ยังมีเรื่องเสียส่วนแบ่งในการเป็นเจ้าของ
เพราะยิ่งเวลาที่บริษัทมีผลประกอบการที่ดีหรือกำไรที่ดี ก็เหมือนกับแบ่งของดีให้คนอื่นเข้ามาร่วมเป็นเจ้าของ
ยิ่งกว่านั้นบริษัทต้องเผชิญกับกฎระเบียบและการตรวจสอบเยอะขึ้น ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เช่น ค่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน ค่าจ้างตรวจสอบภายในเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน จากเดิมค่าตรวจสอบบัญชีอาจอยู่เพียงหลักหมื่น
แต่เมื่อจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว อาจเพิ่มมาเป็นหลักล้านบาทก็ได้
อย่างที่รู้กันว่าหุ้น IPO เป็นหุ้นที่เพิ่งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพราะฉะนั้นนักลงทุนจำเป็นจะต้องศึกษาข้อมูลของบริษัทให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน โดยมีเทคนิคในการเลือกหุ้น IPO ตามนี้
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |