ปัจจุบันผู้คนไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยไหน ก็ต่างให้ความสนใจด้านการเงินมากขึ้น แต่หลายคนยังสับสนกับการเลือกการเก็บเงินระหว่าง “ออมเงิน” หรือ “ลงทุน” แบบไหนดีกว่ากัน ครั้งนี้ ACU PAY จึงนำการออมกับการลงทุน มาเปรียบเทียบและเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อที่จะได้เข้าใจว่าการออม กับ การลงทุน มันแตกต่างยังไงบ้าง
วัตถุประสงค์ของการออม คือ การเก็บสะสมเงินไว้ ไม่ให้สูญหายไปไหน เพื่อใช้ในเป้าหมายบางอย่างในอนาคต เช่น ซื้อบ้าน คอนโด รถยนต์ บัตรคอนเสิร์ต รองเท้า หรือ เก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เป็นต้น
โดยการออมเงินมักจะเก็บสะสมในรูปของการเงินฝากกับธนาคาร เนื่องจากมีความเสี่ยงต่ำมาก จนถึงไม่มีความเสี่ยงเลย เช่น บัญชีออมทรัพย์ บัญชีฝากประจำ สลากออมสิน ถึงแม้จะได้ดอกเบี้ยน้อย ประมาณ 0.5 – 0.75% แต่ก็ถือเป็นกำไร การออมเงินจึงเป็นการเก็บรักษาเงินให้ปลอดภัยมากกว่าได้รับผลตอบแทนสูง
ข้อดีของการออม
เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย เนื่องจากความเสี่ยงต่ำ และมีสภาพคล่องสูง จึงสามารถถอนเป็นเงินสดมาใช้เมื่อไหร่ก็ได้ เหมาะกับการเก็บไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน ไม่มีผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจหรือตลาดหุ้น
ข้อเสียของการออม
ผลตอบแทนต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการลงทุน และจะได้ผลตอบแทนเท่าที่สถาบันการเงินกำหนดเท่านั้น ไม่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการนำเงินต่อยอดเพื่อได้ผลกำไร
ควรเลือกการออมแบบไหนถึงเหมาะสมกับช่วงวัย
– วัยเด็ก : หยอดกระปุกออมสิน หรือเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
– วัยทำงาน : เงินฝากออมทรัพย์, เงินฝากประจำ, สลากออมสิน, ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
– วัยเกษียณ : สลากออมสิน, เงินฝากประจำ, กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
วัตถุประสงค์ของการลงทุน คือ ทำให้เงินที่มีอยู่เพิ่มมากขึ้น มีตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำไปจนถึงสูงมาก ยิ่งเสี่ยงยิ่งผลตอบแทนสูง เช่น หุ้น, กองทุนรวม, ตราสารหนี้, ลงทุนทำธุรกิจ, อสังหาริมทรัพย์ ตราสารอนุพันธ์ เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าเราก็ต้องยอมรับความเสี่ยงที่สูงขึ้นที่อาจจะสูญเสียเงินลงทุนไป แลกกับโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่มากขึ้น การลงทุนจึงเป็นการใช้เงินเพื่อได้รับผลตอบแทนมากกว่าการเก็บเงินให้ปลอดภัย
ข้อดีของการลงทุน
โอกาสได้ผลตอบแทนสูง มีช่องทางได้ผลตอบแทนมากกว่า เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือ ผลกำไรจากการลงทุน การลงทุนบางประเภทให้อำนาจในการจัดการสินทรัพย์ เช่น ธุรกิจส่วนตัว อสังหาฯ กองทุนบางประเภทสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ เช่น กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
ข้อเสียของการลงทุน
มีสภาพคล่องต่ำกว่าการออม เปลี่ยนกลับมาเป็นเงินได้ยาก ถ้าคาดการณ์ผิดมีโอกาสขาดทุนสูง โดยเฉพาะหากขาดความรู้และความเข้าใจ
ถ้าจะให้เลือกว่าแบบไหนดีกว่ากัน คงตอบได้ยาก เพราะการออมและการลงทุนนั้นขึ้นอยู่กับวัตุประสงค์ของผู้ใช้ว่าต้องการนำไปทำอะไร แต่จะดีกว่าถ้าเราเลือกทำทั้งสองอย่างไปพร้อมกัน มีเงินเก็บมั่นคงไว้ใช้ในปัจจุบัน กับ มีเงินลงทุนให้ผลตอบแทนระยะยาว สร้างความมั่งคั่งให้กับอนาคต
หลังจากมีออมเงินให้เพียงพอ 6 – 12 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือนได้ประมาณนึงแล้ว ลองขยับไปศึกษาการลงทุนในกองทุนต่าง ๆ มากมาย โดยเลือกลงทุนที่เหมาะกับความเสี่ยงที่เรารับได้และจุดประสงค์การลงทุนนั้น ๆ ก็สามารถสร้างความมั่งคังในอนาคตได้แล้ว
สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะเงินของเราจะไปอยู่ในการออมหรือการลงทุน สิ่งที่ควรให้ความสำคัญมากที่สุดคือการบริหารจัดการเงินและการมีเป้าหมายการเงินที่ชัดเจน เพื่อให้แผนทางการเงินของเราสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |