fbpx
Search
Close this search box.

มีอยู่จริง!! กับโรคกลัวการมีความสุข

ทุกคนมีใครเคยเป็นกันบ้าง? กับโรคกลัวการมีความสุขแค่คิดว่าตัวเองจะมีความสุข ก็รู้สึกเศร้าไปแล้วทั้งๆที่ “ความสุข” เป็นสิ่งที่หลายๆ คนปรานารถอยากจะมีกันทั้งนั้นไม่ว่าจะวิธีอะไรก็ตามแต่ก็อยากจะทำให้ตัวเองมีความสุข ความสุขของแต่ละคนแตกต่างกันมากๆ อย่างแอดมินแน่นอนอยู่แล้วความสุขอย่างเดียวที่อยากมีนั้นคือ “เงิน” ค่ะ ฮ่าฮ่าฮ่า แต่สำหรับบางคนแล้วความสุขก็สามารถเข้าไปทำร้ายจิตใจได้อย่างไม่น่าเชื่อ เดี๋ยววันนี้ ACU PAY จะพาทุกคนไปดูพร้อมกันว่าโรคกลัวการมีความสุขเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอะไร และอาการแบบไหนเรียกว่า “โรคกลัวการมีความสุข”

สาเหตุของโรคภาวะกลัวการมีความสุข

ไม่ใช่ทุกคนที่อยากจะมีความสุข ฟังดูแล้วอาจจะแปลกๆหน่อยและคงคิดว่ามีด้วยหรอกับคนประเภทอย่างแบบนี้ มีอยู่จริงค่ะกับโรคกลัวการมีความสุข หรือ Cherophobia เป็นภาวะของคนที่ตกอยู่ในความรู้สึกหวาดกลัว วิตกกังวลโดยไม่มีสาเหตุกับการที่ตัวเองจะมีความสุขหรือเรื่องสนุกและกลัวตัวเองจะเผลอยิ้ม คนที่เกิดอาการแบบนี้เพราะพวกเขาคิดว่าหากปล่อยให้ตัวเองมีความสุขแล้วจะเกิดเรื่องเลวร้ายตามมา ซึ่งโรคนี่ไม่ใช่โรคซึมเศร้า แต่เป็นเพียงการพยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้มีความสุข

อาการแบบไหนเรียกว่า “โรคกลัวการมีความสุข”

ถึงจะไม่มีวิจัยที่แน่ชัดเกี่ยวกับอาการโรคกลัวการมีความสุข แต่สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ มุมมองด้านความคิด และ พฤติกรรมที่ผิดปกติ

  • มุมมองด้านความคิดที่ผิดปกติ คือช่วงเวลาที่กำลังมีความสุขอยู่ แต่กลับมีปัจจัยอะไรสักอย่างที่ทำให้เขาตกอยู่ในสถานการณ์เป็นคนผิด คนไม่ดีไปแบบดื้อๆ จนมีความคิดเข้ามาว่าไม่ชอบ รู้สึกกลัว เป็นทุกข์จนจำฝั่งใจ และทำให้เชื่อว่ามีความสุขก็ต้องมีความทุกข์ตามมาเสมอ
  • พฤติกรรมที่ผิดปกติจากการแสดงออก คือการแสดงทางร่างกายร่วมด้วยไม่ว่าจะเป็น อาการปวดหัว วิงเวียนศีรษะ หัวใจเต้งแรงและเร็ว แน่นหน้าอก คลื่นไส้ เป็นต้น และมักจะเกิดขึ้นเฉพาะเวลาที่ตัวเองจะมีความสุขเช่น เย็นนี้รู้ว่าจะได้ไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อน ก็จะรู้สึกกลัวจนหัวใจเต้นแรง วิงเวียนศีรษะ เป็นต้น และถ้าหากเป็นบ่อยๆ ติดต่อกันนาน 6 เดือนขึ้นไป แนะนำให้รีบไปพบจิตแพทย์ เพื่อขอคำปรึกษาและรีบรักษาให้เหมาะสมกับตัวเอง

ในส่วนการรักษาเบื้องต้นอาจจะไปขอคำปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา หรืออาจจะหากิจกรรมอาทิเช่น ออกกำลังกาย ว่ายน้ำ โยคะ หรือการนั่งสมาธิ เป็นต้น ถือว่าได้เป็นการอยู่กับตัวเองและหากิจกรรมคลายเคลียดในการบำบัดโรคนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่