fbpx
Search
Close this search box.

What is Lorem Ipsum?

ความงดงามของศิลปะผ่านการแต่งกาย ที่ดูโดดเด่น อลังการ จัดเต็ม เพื่อสร้างความสุขให้กับตัวเองและผู้ชม ผ่านศิลปะที่เรียกว่า “แดร็ก” แล้วสิ่งนี้คืออะไร วันนี้ เอซียูเพย์ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ ศิลปะมากกว่าศิลปะที่เรียกว่า “แดร็ก” กันค่ะ

แดร็ก หรือ Drag คืออะไร ?

เป็นงานศิลปะแบบหนึ่ง ที่มีการแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าและการแต่งหน้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คำว่าแดร็กนั้นมีที่มาจากคำว่า “Dress Resembling as a Girl” โดยที่ส่วนใหญ่ศิลปินจะเป็นผู้ชาย หรือคนที่ใช้ชีวิตประจำวันโดยแสดงออกความเป็นชายแบบ Masculine แต่งตัวเป็นคาร์แรกเตอร์เลียนแบบผู้หญิง ที่เรียกว่า แดร็กควีน (Drag Queen) นั่นเอง ปัจจุบันมีการแตกแขนงออกมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ไบโอควีน (ฺBio Queen) เฟมควีน (Femme Queen) หรือ แดร็กคิง (Drag King) ที่ผู้หญิงส่วนใหญ่มักแต่งตัวเป็นคาร์แรกเตอร์ผู้ชาย ซึ่งแดร็ก เป็นศิลปะ ที่ใคร ๆ ก็สามารถเป็นศิลปินได้ ไม่ว่าจะเพศไหนก็ตาม

จุดเริ่มต้นของ แดร็ก มาจากไหน ?

เรียกได้ว่า แดร็ก นั้นอยู่คู่กับวัฒนธรรมตะวันตกมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ สมัยกรีกโบราณ และเช็คสเปียร์ ในสมัยที่ผู้หญิงไม่รับอนุญาตให้แสดงในโรงละคร ผู้ชายจึงต้องรับบทเป็นผู้หญิงแทน ซึ่งในศตวรรษที่ 19 การแต่งกายเลียนแบบหญิงจึงใช้เป็นเครื่องมือในศิลปะการแสดง หลังจากนั้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 แดร็กได้เชื่อมโยงกับชุมชน LGBTQ+ และกลายเป็นลักษณะสำคัญของสถานบันเทิงยามค่ำคืนกลางเมือง จากภาพยนตร์อย่าง Paris Is Burning และ The Birdcage ช่วยทำให้แดร็กเป็นที่รู้จักใน Pop culture ของสังคมอเมริกา

แดร็กกลายเป็นกระแสฮิตตอนไหน ?

ในปี 2009 วัฒนธรรมแดร็กได้รับความนิยมอย่างมาก จากรายการทีวีเรียลลิตี้ RuPaul’s Drag Race ซึ่งทำให้ แดร็ก เป็นที่รู้จักและโด่งดังไปทั่วโลก โดยรายการได้เน้นประเด็นของชุมชนแดร็กและการแสดง ไม่ว่าจะเป็น การนำเสนอศิลปะผ่านการออกแบบ การลิปซิงค์เพลง การเต้น แสดง หรือการสวมบทบาทเป็นคาร์แรกเตอร์ต่าง ๆ ให้คนดูตะลึงไปกับผลงานของตัวเอง

ในประเทศไทย แดร็ก เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น จากตัวแม่แดร็กอย่าง ปันปัน นาคประเสริฐ หรือ Pangina Heals โดยเมื่อปี 2022 ที่ผ่านมา ปันปันได้เข้าร่วมรายการ RuPaul’s Drag Race: UK vs the World ในฐานะผู้เข้าแข่งขันแดร็กควีนตัวแทนชาติไทยคนแรก ได้สร้างชื่อเสียงของแดร็กไทยให้เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศมากขึ้น 

นอกจากนี้ประเทศไทยยังเคยมีรายการ Drag Race Thailand แฟรนไชส์ของ RuPaul’s Drag Race ที่มาช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแดร็กในเมืองไทยให้คนหมู่มากได้เข้าใจมากขึ้น ยิ่งกว่านั้นยังมี การแสดงโชว์แดร็กตามงานอีเว้นท์ต่าง ๆ และบาร์แดร็กในกรุงเทพ เพื่อช่วยให้ศิลปะของแดร็กเป็นที่รู้จักมากขึ้นอีกด้วย

เพราะทุกคนมีคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นใครหรือเพศไหน ทุกคนต่างต้องการมีตัวตนบนโลก แดร็กเปรียบเสมือนพื้นที่แสดงศิลปะที่แฝงไปด้วยการต่อสู้ทางสังคม เพื่อต้องการสื่อสารอัตลักษณ์ และตัวตนอีกมุมหนึ่งที่รอวันปลดปล่อยออกมา ไม่ว่าจะเป็นชุมชน LGBTQ+ หรือใครก็ตามที่ชื่นชอบในงานศิลปะผ่านการแต่งหน้าและแต่งกาย ก็สามารถถ่ายทอดความสุขตัวตนที่ตัวเองต้องการผ่านศิลปะที่เรียกว่า แดร็ก

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่