fbpx
Search
Close this search box.

กองทุน SSF กับ RMF คืออะไร แบบไหนดีกว่ากัน

กองทุน SSF กับ RMF คืออะไร แบบไหนดีกว่ากัน

จะใกล้สิ้นปีแล้ว ถึงเวลาที่จะต้องเสียงภาษีเชื่อว่ามีหลายคนที่กำลังมองหาตัวช่วยในการลดหย่อนภาษี วางแผนการเสียภาษียังไงให้คุ้มค่า และในปัจจุบันการลงทุนด้วยกองทุนรวมเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดหย่อนภาษี นั่นก็คือกองทุน SSF และ RMF เดี๋ยวเรามาดูกันว่าถ้าหากจะลงกองทุนแบบสามารถไปลดหย่อนภาษีได้ ควรเลือกกองทุนไหนที่เหมาะสมกับตัวเองไปดูกันเลยย

กองทุน SSF คืออะไร

       กองทุนรวม SSF หรือ Super Savings Fund เป็นกองทุนที่มีจุดประสงค์ส่งเสริมการออมระยะยาวโดยต้องลงทุนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ปี ซึ่งจะพิเศษกว่ากองทุนอื่นๆตรงที่รัฐบาลอนุญาตให้นำจำนวนเงินที่ซื้อกองทุน SSF ให้นำมาลดหย่อนภาษีเงินได้แบบบุคคลธรรมดา

กองทุน RMF คืออะไร

       กองทุนรวม RMF หรือ Retirement Mutual Fund เป็นกองทุนรวมเพื่อเลี้ยงชีพ ส่งเสริมการออมเงินระยะยาวเพื่อใช้จ่ายเมื่อเกษียณ โดยมีเงื่อนไขว่าการลงทุนในกองทุนรวม RMF ไม่น้อยกว่า 5 ปีและเมื่ออายุครบ 55 ปีถึงจะขายคืนกองทุนออกมาได้โดยไม่ผิดเงื่อนไขของสิทธิประโยชน์ทางภาษี

ความแตกต่างระหว่ากองทุนรวม SSF กับ RMF

       วัตถุประสงค์ทั้ง 2 กองทุนคือเพื่อการออมในระยะยาว แต่ RFM จะเป็นการออมระยะยาวเพื่อใช้ในวันเกษียณ โดยจะต้องลงทุนต่อเนื่องทุกๆปีหรือเว้นการลงทุนไม่เกิน 1 ปี ต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี และสามารถขายได้เมื่ออายุ 55 ปี พร้อมทั้งไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล ซึ่งกองทุนรวม SSF เป็นการทุนเพื่อการออมระยะยาวเช่นกัน แต่มีระยะเวลากำหนดเพียง 10 ปี โดยไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการลงทุน สามารถลงทุนเฉพาะช่วงที่ต้องการจะใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ และมีให้เลือกได้ว่าจะลงแบบมีเงินปันผลหรือไม่มีเงินปันผลก็ได้

เงื่อนไขในการลดหย่อนภาษี

  • SSF สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นของเงินได้พึงประเมินแต่ไม่เกิน 200,000 บาท
  • RMF สามารถลดหย่อยภาษีสูงสุดได้ไม่เกิด 30 เปอร์เซ็นของเงินได้พึงประสงค์ แต่ไม่เกิน 500,00 บาท เมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี

ข้อควรระวังเมื่อผิดเงื่อนไขการลดหย่อนภาษี

กองทุนรวม SSF 

กรณีที่ถือไม่ครบ 10 ปี กำไรที่ได้จากการขายคืนต้องถูกคำนวณเพื่อเสียภาษี และจะต้องคืนภาษีได้รับการลดหย่อนย้อนหลังทุกปี พร้อมค่าปรับดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือนของจำนวนเงินภาษีที่ได้รับลดหย่อน โดยจะคิดย้อนหลังตั้งแต่ เดือน เม.ย. ของปีที่เคยยื่นลดหย่อน จนถึงวันที่ยื่นคืนภาษี

กองทุนรวม RMF

กรณีที่ลงทุนไม่ถึง 5 ปี กำไรที่ได้จากการขายคืนต้องถูกคำนวณเพื่อเสียภาษี และจะต้องคืนภาษีได้รับการลดหย่อนย้อนหลังทุกปี พร้อมค่าปรับดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือน

กรณีลงทุนเกิน 5 ปี แต่ขายคืนก่อนอายุ 55 ปี จะต้องคืนเฉพาะภาษีที่ได้รับการลดหย่อน 5 ปีย้อนหลัง

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่