fbpx
Search
Close this search box.

ป้ายแบบไหนเสียภาษี เรื่องที่ผู้ประกอบการควรรู้

ผู้ประกอบการท่านไหนที่กำลังเปิดธุรกิจทำร้านอาหาร เสื้อผ้า คาเฟ่ หรือทำธุรกิจต่าง ๆ ที่มีป้ายติดอยู่หน้าร้าน เพื่อโปรโมทหรือโฆษณา สิ่งหนึ่งที่สำคัญและไม่ควรละเลยอย่างมาก นั่นก็คือการเสีย “ภาษีป้าย” แล้วภาษีป้ายคืออะไร มีเกณฑ์ต้องเสียอย่างไรบ้าง  

ภาษีป้าย คืออะไร ?

ภาษีป้าย คือ การเก็บภาษีจากป้ายที่เป็นชื่อร้าน ยี่ห้อ เครื่องหมายการค้า หรือโฆษณาการค้า เพื่อหารายได้ อย่างเช่น ป้ายที่ติดตามตึกต่าง ๆ หรือเวลาที่เราขับรถอยู่บนทางด่วน มักจะพบเห็นป้ายบิลบอร์ดขนาดใหญ่ ซึ่งแต่ละป้ายอาจแสดงในรูปแบบของตัวอักษร ภาพ เครื่องหมายที่เขียน แกะสลักบนวัสดุ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีป้ายที่ได้รับการยกเว้นเสียภาษีอีกด้วย

วิธีคำนวณภาษีป้าย

ค่าภาษีป้าย = หน่วยของภาษีป้ายที่ต้องเสีย x อัตราภาษีป้าย

อัตราภาษีป้ายแต่ละประเภท

ประเภทที่ 1 ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน

  • (ก) ป้ายที่มีข้อความเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนไปข้อความอื่นได้ อัตรา 10 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
  • (ข) ป้ายนอกจาก (ก) ให้คิดอัตรา 5 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

ยกตัวอย่างเช่น ป้ายที่มีข้อความว่า

เอซียู เพย์ ไทยแลนด์

ประเภทที่ 2 ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ/ภาพ/เครื่องหมาย

  • (ก) ป้ายที่มีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพที่เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นได้  อัตรา 52 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
  • (ข) ป้ายนอกจาก (ก) อัตรา 26 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

ยกตัวอย่างเช่น ป้ายที่มีข้อความว่า

เอซียู เพย์ 

ACU PAY

ประเภทที่ 3 ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครืองหมายใดๆ และป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ

  • (ก) ป้ายที่มีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพที่เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นได้  อัตรา 52 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
  • (ข) ป้ายนอกจาก (ก) อัตรา 50 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

ยกตัวอย่างเช่น ป้ายที่มีข้อความว่า 

ACU PAY Thailand

ต้องเสียภาษีป้ายตอนไหน?

  • เจ้าของป้ายหรือผู้ครอบครองป้ายจะต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี (แบบ ภ.ป.1) ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี
  • หากติดตั้งป้ายใหม่หรือเปลี่ยนแปลงข้อความในป้าย ต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ติดตั้งใหม่หรือที่เปลียนแปลงข้อความใหม่
  • หากเจ้าของป้ายได้รับหนังสือแจ้งประเมินภาษี (แบบ ภ.ป.3) ให้ชำระภาษีภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน 

ข้อกฎหมายและบทลงโทษ

  • หากผู้ประกอบการมีเจตนาไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย มีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท – 50,000 บาท
  • ถ้าผู้ประกอบการแจ้งข้อความเท็จ หรือหลีกเลี่ยงไม่จ่ายภาษี จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท – 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ถ้าไม่แจ้งรับโอนป้าย หรือไม่แสดงรายการเสียภาษีป้าย มีโทษปรับตั้งแต่ 1,000 บาท – 10,000 บาท

ป้ายแบบไหน “ไม่ต้องเสียภาษี”

อย่างไรก็ตาม ยังมีป้ายอีกหลายสถานที่และหลายลักษณะที่ไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขที่ต้องเสียภาษี ตามนี้ 

  • ป้ายที่ติดในอาคาร
  • ป้ายที่มีล้อเลื่อน (ต้องมีการเลื่อนป้ายเข้าออก)
  • ป้ายตามงานอีเวนท์ที่จัดเป็นครั้งคราว
  • ป้ายของทางราชการ
  • ป้ายของโรงเรียนทั้งรัฐและเอกชน
  • ป้ายวัด สมาคม มูลนิธิ
  • ป้ายที่ติดหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนนหรือรถแทรกเตอร์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่