fbpx
Search
Close this search box.

ระวัง เคี้ยวน้ำแข็งบ่อยๆ สัญญาณเตือนโรคโลหิตจาง

ด้วยความเมืองไทยเป็นเมืองร้อน อยากกินน้ำเย็น ๆ ใส่น้ำแข็งเคี้ยวไปด้วยก็คงไม่แปลกใช่ไหม แต่ถ้าลองสังเกตดี ๆ ว่ามีเพื่อน หรือคนรอบข้างคนไหน ที่เห็นทีไรต้องกินน้ำแข็ง เคี้ยวน้ำแข็งบ่อยตลอดทั้งวัน หรือแม้แต่ตัวเราเอง กำลังมีพฤติกรรมแบบนี้กันอยู่รึเปล่า ถ้ามีละก็ คุณอาจกำลังเสี่ยงเป็น โรคโลหิตจาง แล้วล่ะ

อาการของผู้ป่วยโรคติดน้ำแข็ง

มักจะบริโภคน้ำแข็งอยู่เป็นประจำ เสพติดการเคี้ยวน้ำแข็งตลอดทั้งวัน ไม่สามารถหยุดเคี้ยวได้ หรืออยากเคี้ยวน้ำแข็งตลอดเวลา มีอาการอยากเคี้ยวน้ำแข็งมากกว่าการอยากดื่มน้ำเย็น ๆ เครื่องดื่มเย็นจัดก็ยังไม่อาจทำให้รู้สึกพึงพอใจได้ ต้องหาน้ำแข็งมาเคี้ยวเสียงดัง ส่วนใหญ่จะชอบเคี้ยว มากกว่าอมน้ำแข็งเฉย ๆ

อาการเบื้องต้นของโรคติดน้ำแข็ง

  • ชอบบริโภคน้ำแข็งเป็นประจำ
  • อยากเคี้ยวน้ำแข็งตลอดทั้งวัน ไม่สามารถหยุดการเคี้ยวได้
  • ร่างกายรู้สึกไม่มีเรี่ยวแรง วิงเวียนศีรษะ
  • ผิวเริ่มซีด ใบหน้า ลิ้น บวม
  • เล็บเปราะบาง
  • เจ็บหน้าอก หายใจถี่ขึ้น
  • มือ และเท้ารู้สึกชา อาจเป็นตะคริวร่วม

สาเหตุของการเกิดโรคติดน้ำแข็ง

Contrary to popular belief, Lorem Ipsum is not simply random text. It has roots in a piece of classical Latin literature from 45 BC, making it over 2000 years old. Richard McClintock, a Latin professor at Hampden-Sydney College in Virginia, looked up one of the more obscure Latin words, consectetur, from a Lorem Ipsum passage, and going through the cites of the word in classical literature, discovered the undoubtable source. Lorem Ipsum comes from sections 1.10.32 and 1.10.33 of “de Finibus Bonorum et Malorum” (The Extremes of Good and Evil) by Cicero, written in 45 BC. This book is a treatise on the theory of ethics, very popular during the Renaissance. The first line of Lorem Ipsum, “Lorem ipsum dolor sit amet..”, comes from a line in section 1.10.32.

Where does it come from?

อาการชอบกินน้ำแข็ง เป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนของโรคโลหิตจาง ไม่ใช่ว่าเคี้ยวน้ำแข็งบ่อยแล้วจะเป็นโลหิตจาง แต่การชอบเคี้ยวน้ำแข็งบ่งบอกถึงอาการขาดธาตุเหล็ก โดยผลวิจัยบอกว่ากว่า 50% ของผู้ป่วยโรคนี้มักมีอาการชอบเคี้ยวน้ำแข็ง แต่ทั้งนี้ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด

สาเหตุอื่นคือมีความเครียดจากปัญหาบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์  และจิตใจ เช่น ความเครียด พฤติกรรมย้ำคิด-ย้ำทำ เลยต้องขบเคี้ยวสิ่งต่าง ๆ เพื่อผ่อนคลาย 

ผลจากการเคี้ยวน้ำแข็งบ่อย เสี่ยงอะไรบ้าง

  • ปัญหาสุขภาพฟัน 

การเคี้ยวน้ำแข็งอาจทำให้ฟันบิ่น ร้าว หัก แตก หรืออาจฟันหลุดได้ 

  • ได้รับเชื้อโรคจากน้ำแข็งที่ไม่สะอาด 

การกินน้ำแข็งที่ไม่สะอาด อาจเสี่ยงติดเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้ท้องร่วงท้องเสีย หรือติดพยาธิจากน้ำแข็งที่แช่อาหารสด รวมถึงสารพิษ สารเคมีอื่นๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำแข็งที่ไม่สะอาดอีกด้วย

  • ภาวะแทรกซ้อนจากโรคโลหิตจาง 

ถ้าเป็นโรคโลหิตจาง อาจส่งผลต่อภาวะดังนี้
– การเต้นของหัวใจผิดปกติ
-‌ หัวใจขยายใหญ่ขึ้น
– ภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ เช่น การคลอดก่อนกำหนด
– การติดเชื้อเพิ่มขึ้น
– การเจริญเติบโตและพัฒนาการล่าช้าในเด็ก

วิธีแก้อาการติดเคี้ยวน้ำแข็ง

  • พยายามหักห้ามใจ ค่อย ๆ ลดปริมาณการบริโภค
  • ลองเปลี่ยนจากการเคี้ยวเป็นการอมน้ำแข็งแทน หรือเปลี่ยนชนิดน้ำแข็ง จากน้ำแข็งก้อน เป็น น้ำแข็งเกล็ด น้ำแข็งไส
  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากกว่า 
  • เสริมธาตุเหล็กให้กับร่างกาย จากอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ผักใบเขียว ถั่ว เครื่องใน

ทีนี้อย่าลืมสังเกตตัวเองและคนรอบข้างดู ว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงแบบนี้กันหรือเปล่า อย่างไรก็ตามถ้าเลิกพฤติกรรมหรือควบคุมการเคี้ยวน้ำแข็งไม่ได้จริง ๆ ควรลองไปปรึกษากับแพทย์หรือจิตแพทย์ 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่