fbpx
Search
Close this search box.

เปิดสถิติตลาดอีคอมเมิร์ซไทย 2022

      สรุปสถิติตลาดอีคอมเมิร์ซ ในประเทศไทย 2022 จากรายงาน Digital Stat 2022 เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมของคนไทยในการใช้จ่ายผ่านอีคอมเมิร์ซ

กิจกรรมการใช้ช้อปปิ้งออนไลน์ รายสัปดาห์

Ecommerce

       จากรายงาน Digital Stat เผยว่าคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตช่วงอายุ 16-64 ปี ใช้อีคอมเมิร์ซ ทำกิจกรรมดังนี้

  1. 68.3% ซื้อสินค้า และบริการผ่านทางออนไลน์
  2. 45.8% ซื้ออุปโภคบริโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวันผ่านทางออนไลน์
  3. 27.2% ใช้อีคอมเมิร์ซเปรียบเทียบราคาสินค้า
  4. 26.4% ซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านการผ่อนชำระ หรือซื้อก่อนจ่ายทีหลัง
  5. 16.8% ซื้อสินค้ามือ 2 ผ่านทางออนไลน์

15 ปัจจัยที่ทำให้คนไทยซื้อของออนไลน์

จากรายงาน Digital Stat ของคนที่อายุ 16-64ปี เผยเหตุผลที่ให้คนไทยซื้อของผ่านออนไลน์ ดังนี้

  1. 57.7% โปรโมชันส่งฟรี 
  2. 49.2% คูปอง และ ส่วนลด ส่วนแถม
  3. 37.6% บริการเก็บเงินปลายทาง
  4. 31.8% การรีวิวของลูกค้า หรือผู้ที่เคยใช้งาน
  5. 30.6% เห็นสินค้าจากโซเซียลมีเดียที่มีการไลก์ และคอมเมนต์
  6. 28.9% ง่ายต่อการคืนสินค้า
  7. 28.4% ส่งสินค้าไว ได้รับของเร็ว
  8. 22.2% ง่ายต่อการเปรียบเทียบ เพราะมีสินค้ามากมาย
  9. 21.9% สามารถสอบถามข้อมูลกับผู้ขายได้โดยตรง
  10. 20.3% ขั้นตอนการซื้อสินค้าง่าย ไม่ยุ่งยาก
  11. 19.0% มีการรับประกันในตัวผลิตภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  12. 18.2% ความจงรักภักดีต่อแบรนด์
  13. 17.0% ตัวเลือกในการผ่อนชำระสินค้า
  14. 14.4% สามาารถสั่งซื้อผ่านโซเซียลมีเดียได้ทันที
  15. 14.1% ซื้อสินค้าบนโลกออนไลน์และไปรับสินค้าที่หน้าร้านได้ 

ภาพรวมและมูลค่าการซื้อสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคผ่านอีคอมเมิร์ซ

       จากรายงาน Digital Stat เผยว่ามีคนซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านอีคอมเมิร์ซ 36.60 ล้านคน เพิ่มขึ้น 8.7% คิดเป็น 2.9 ล้านคน จากปีที่แล้ว คิดเป็นมูลค่าประมาณ 639,289,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 77.5% คิดเป็น 279,710,000 ล้านบาท เฉลี่ยคนละ 17,456.6 บาท เพิ่มขึ้น 63.3% คิดเป็น  6,773 บาทจากปีที่แล้ว โดยใช้จ่ายผ่านโทรศัพท์มือถือมากถึง 65.1% เพิ่มขึ้น 2.7% จากปีที่แล้ว

มูลค่าการซื้อสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคผ่านอีคอมเมิร์ซแบ่งตามประเภทสินค้า

e-commerce
  1. เครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่าการใช้จ่ายอยู่ที่ 213,658 ล้านบาท เพิ่มจากปีที่แล้ว 40.2% คิดเป็นมูลค่า 134,126 ล้านบาท
  2. สกินแคร์ มีมูลค่าการใช้จ่ายอยู่ที่ 134,126 ล้านบาท เพิ่มจากปีที่แล้วถึง 85.8% คิดเป็นมูลค่า 64,030 ล้านบาท
  3. เครื่องดื่ม และน้ำดื่ม มีมูลค่าการใช้จ่ายอยู่ที่ 130,419 ล้านบาท เพิ่มจากปีที่แล้วถึง 159%
  4. คิดเป็นมูลค่า 80,880 ล้านบาท
  5. เสื้อผ้า สินค้าแฟชัน มีมูลค่าการใช้จ่ายอยู่ที่ 50,550 ล้านบาท เพิ่มจากปีที่แล้ว 85.8% คิดเป็นมูลค่า 23,320 ล้านบาท
  6. ของเล่น มีมูลค่าการใช้จ่ายอยู่ที่ 47,180 ล้านบาท เพิ่มจากปีที่แล้ว 99.3% คิดเป็นมูลค่า 23,455 ล้านบาท
  7. อาหาร มีมูลค่าการใช้จ่ายอยู่ที่ 42,799 ล้านบาท เพิ่มจากปีที่แล้ว 100% คิดเป็นมูลค่า 21,365 ล้านบาท
  8. เฟอร์นิเจอร์ มีมูลค่าการใช้จ่ายอยู่ที่ 15,994 ล้านบาท เพิ่มจากปีที่แล้ว 54.2% คิดเป็นมูลค่า 5,627 ล้านบาท
  9. อุปกรณ์ไอที มีมูลค่าการใช้จ่ายอยู่ที่ 4,896 ล้านบาท เพิ่มจากปีที่แล้ว เพิ่มจากปีที่แล้ว 14.4% คิดเป็นมูลค่า 606 ล้านบาท

*คิดจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ 33.7บาท/ดอลล่า

       เครื่องดื่มและอาหารเป็นตัวเลขที่น่าสนใจมากว่า มีการซื้อและใช้จ่ายผ่านทางออนไลน์สูงเป็นเท่าตัว อาจมีสาเหตุมาจากโควิด 19 ที่ทำให้มีการเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 

       และการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าออนไลน์ สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมผู้ซื้อว่ามีความเชื่อมั่นในการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์มากขึ้น เพราะว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่คนส่วนใหญ่ชอบที่จะทดลอง หรือทดสอบก่อนตัดสินใจซื้อ อาจจะเป็นไปได้ว่า ด้วยการรับประกัน และการขนส่งที่พัฒนาให้ดีขึ้น ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น จะสามารถสะท้อนได้จากปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคสั่งซื้อสินค้าผ่านออนไลน์

ที่มา : https://datareportal.com/reports/digital-2022-thailand

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆสามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่