fbpx
Search
Close this search box.

“โรคแพนิค” โรคที่ไม่ได้มีแค่นิสัยขี้ตกใจ

โรคแพนิค (Panic Disorder) ถือเป็นอีกโรคหนึ่งที่เราได้ยินกันบ่อยขึ้นในสังคมปัจจุบัน เช่น เวลาพูดกับเพื่อนที่กำลังตกใจเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งว่า “อย่าแพนิค” แท้จริงแล้วโรคนี้เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ และโรคแพนิคนี้ก็ไม่ใช่แค่นิสัยขี้ตกใจอย่างที่เราเข้าใจกัน วันนี้เอซียู เพย์ จะพาเพื่อนๆไปทำความรู้จักกับ โรคแพนิค ให้มากขึ้นกันค่ะ

โรคแพนิค (Panic Disorder) คืออะไร ?

โรคแพนิค (Panic Disorder) คือ โรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง หรือเรียกว่า โรคตื่นตระหนก เกิดจากฮอร์โมนลดหรือเปลี่ยนแปลงกระทันหัน ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ เหมือนไฟฟ้าลัดวงจร ระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของร่างกายในหลายส่วน จึงเกิดอาการหลายอย่างร่วมกัน ผู้ที่เป็นมักมีความรู้สึกกลัว ตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก แบบไม่คาดคิดมาก่อน โดยเกิดขึ้นซ้ำๆ จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน พบบ่อยในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ทำให้ความสามารถในการประกอบอาชีพลดลง และความสัมพันธ์กับบุคคลใกล้ชิดตึงเครียดมากขึ้น

สาเหตุของโรคแพนิค

สาเหตุของโรคแพนิก เชื่อว่ามีปัจจัยหลายประการที่อาจประกอบกันทำให้เกิดอาการ เช่น

  1. ทางด้านร่างกาย มีปัญหาในการทำงานของสมองส่วนควบคุมความกลัว “Fear” ซึ่งเป็นความผิดปกติของสารสื่อนำประสาทบางอย่าง
  2. ทางกรรมพันธุ์ โรคนี้อาจพบได้ในครอบครัวเดียวกัน
  3. ทางด้านจิตใจ เช่น ความตึงเครียดในชีวิต ได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรง
  4. โรคทางอายุรกรรม หรือสารยาบางตัว

โดยในบางรายอาจไม่มีสิ่งกระตุ้นเหล่านี้เลย และถึงแม้ว่าสิ่งกระตุ้นได้หมดไปแล้วก็ตาม แต่ผู้ป่วยก็ยังคงมีอาการจู่โจมเกิดขึ้นต่อไป

อาการของโรคแพนิค

ผู้ป่วยโรคแพนิคจะรู้สึกหวาดกลัวหรือตื่นตระหนกอย่างไม่มีสาเหตุ ซึ่งเรียกว่าอาการแพนิค โดยอาการนี้จะเกิดขึ้นกะทันหัน รวมทั้งเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แพนิคเป็นอาการที่รุนแรงกว่าความรู้สึกเครียดทั่วไป มักเกิดขึ้นเป็นเวลา 10-20 นาที บางรายอาจเกิดอาการแพนิคนานเป็นชั่วโมง โดยผู้ป่วยโรคแพนิคจะเกิดอาการ ดังนี้

  •   ใจสั่น ใจเต้นแรง แน่นหน้าอก
  •   เหงื่อออกมาก หนาวๆ ร้อนๆ
  •   หายใจถี่ หายใจตื้น หายใจไม่อิ่ม
  •   วิงเวียน โคลงเคลง รู้สึกตัวลอย คล้ายจะเป็นลม
  •   รู้สึกกลัวไปหมดทุกอย่าง โดยเฉพาะกลัวตาย
  •   ควบคุมตัวเองไม่ได้ รู้สึกอยู่คนเดียวไม่ได้

การรักษา

โรคแพนิคสามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาเพื่อปรับสมดุลของสารเคมีในสมองที่ผิดปกติหรือการตรวจเลือดหาสาเหตุที่เกิดทางด้านร่างกาย เพื่อการรักษาที่ได้ผลดีนั้นจะต้องมีการรักษาทางจิตใจควบคู่ไปด้วย ปรับแนวคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยรวมถึงคนรอบข้างคนใกล้ชิดควรทำความเข้าใจกับโรคนี้และให้กำลังใจผู้ป่วย การฝึกการหายใจเพื่อควบคุมสติ เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยลดความเครียดความวิตกกังวล ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยสามารถทำได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

ในยุคปัจจุบันที่เราอาจใช้ชีวิตกันอย่างเร่งรีบ และต้องเผชิญความเครียดหรือเหตุการณ์ที่อาจจะนำไปสู่ความเครียดสะสมที่ส่งผลกระทบกับจิตใจของเราได้อย่างไม่รู้ตัว เพื่อนๆคนไหนที่มีอาการหรือคนใกล้ตัวมีอาการ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อปรึกษา หาสาเหตุและรักษาให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติเช่นเดียวกับคนอื่นในสังคมกันนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่