fbpx
Search
Close this search box.

5 สัญญาณเตือนว่าคุณกำลังใช้เงินเกินตัวอยู่หรือเปล่า

คุณกำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับการเงินอย่าง ใช้เงินแบบไม่ยั้งคิด ไม่มีเงินเก็บหรือถึงรู้ว่าไม่ดีแต่ก็ยังห้ามใจตัวเองไม่ได้อยู่หรือเปล่า ถ้าใช่…คุณไม่ได้มีปัญหาแบบนี้คนเดียว เพราะใครหลายคนก็ต่างประสบปัญหาควบคุมเงินไม่อยู่ หมดไปกับค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเหมือนกัน ซึ่งคราวนี้ ACU PAY จะมาลิสต์สัญญาณเตือนว่าคุณกำลังใช้เงินเกินตัวอยู่หรือเปล่า เพื่อจะได้เตือนให้เราระวังค่าใช้จ่ายมากขึ้น 

1. ซื้อของแบบไม่ยั้งคิด

จริงอยู่ที่บางครั้งการใช้เงินเป็นรางวัลให้ตัวเอง แลกกับการทำงานหนัก ก็ช่วยสร้างความสุขให้ตัวเองบ้าง แต่การใช้จ่ายแบบสุรุ่ยสุร่ายแบบนี้นั้นก็ไม่ควรทำบ่อย หรือทำจนติดเป็นนิสัย เช่น การไปปาร์ตี้กับเพื่อน ๆ หรือชอบของอะไรก็ซื้อเลยแม้ว่าของชิ้นนั้นจะไม่จำเป็นก็ตาม สิ่งเหล่านี้คุณอาจจะทำบ้างในบางครั้งเพื่อจะมีความสุขแต่ไม่ควรทำเป็นนิสัยหรือใช้จ่ายตามคนอื่น ๆ 

เพื่อควบคุมการชอปปิงแบบไม่ยั้งคิด ให้ลองหาว่าอะไรคือสิ่งที่กระตุ้นให้อยากซื้อและเพื่อหาวิธีจัดการค่าใช้จ่ายให้ได้อีกครั้ง อีกวิธีที่ช่วยได้คือ การตั้งข้อจำกัดและตั้งคำถามตัวเองว่า “สิ่งของที่ซื้อจำเป็นแค่ไหน” ก่อนจะจ่ายเงินออกไป

2. ลืมเป้าหมายการเงินของตัวเอง

เคยไหมตั้งเป้าหมายการเงินไว้อย่างดี แต่พอเวลาผ่านไปเป้าหมายการเงินก็เลือนรางไปตามเวลา เพื่อที่จะรักษาเป้าหมายของคุณให้มั่น เพื่ออนาคตของตัวคุณเองและคนที่คุณรัก คุณควรจะหันกลับมาโฟกัสเป้าหมายของคุณใหม่อย่าง การออมเพื่อการเกษียณ เงินสำรองฉุกเฉิน ออมเพื่อจ่ายหนี้ เป็นต้น

3. เริ่มรูดบัตรเครดิตกับค่าใช้จ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ

การใช้บัตรเครดิตถ้ารู้จักใช้สิทธิพิเศษต่าง ๆ ก็ย่อมคุ้มค่า แต่ถ้าเริ่มรูดบัตรเครดิตซื้อของตลอดเวลา ก็เป็นสัญญาณแล้วว่าคุณกำลังใช้เงินเกินตัว เพราะนั่นหมายความว่า คุณไม่มีเงินสดพอ แม้จะซื้อของในราคาไม่กี่บาท ถึงขนาดต้องใช้เงินล่วงหน้าจากบัตรเครดิตไปก่อน และพอรูดจ่ายไปเรื่อย ๆ หนี้บัตรเครดิตก็จะมาเยือนแบบไม่รู้ตัว 

4. ผัดวันใช้หนี้ออกไปเรื่อย ๆ

เมื่อเป็นหนี้แต่ไม่มีเงินใช้หนี้ เราก็ต้องขอผัดผ่อนเลื่อนวันใช้หนี้ออกไปเรื่อย ๆ กลายเป็นว่าหนี้บางอย่างที่จะกลายเป็นหนี้ระยะสั้นก็กลับกลายเป็นหนี้ระยะยาวไป และกลายเป็นการเพิ่มหนี้มากขึ้นกว่าเดิม ทั้งจากดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ดังนั้นควรหยุดก่อหนี้เพิ่มและจ่ายหนี้ให้ตรงเวลาโดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต

5. ไม่วางแผนการเงิน

จุดเริ่มต้นของการเป็นหนี้ต่าง ๆ คือมาจากการไม่วางแผนการเงิน ดังนั้นเบื้องต้นควรเริ่มวางแผนทำรายรับ-รายจ่าย วางแผนเป้าหมายในการออมเงิน เช่น เงินออมสำรองฉุกเฉิน ถยอยออมไปเรื่อย ๆ ให้ได้อย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายทั้งหมด เงินเพื่อการเกษียณ เงินค่ารักษาพยาบาล หรือเงินลงทุน ทางที่ดีคือการเลือกเก็บ ก่อนจะเลือกใช้ จะได้ไม่เผลอใช้เงินเพลิน สำหรับเงินส่วนที่เหลือสามารถนำไปใช้จ่ายตามความเหมาะสม แต่ก็ต้องคิดให้รอบคอบเสมอ ว่าสิ่งนั้นจำเป็นจริงหรือไม่

เพียงเท่านี้ ถ้าเรารู้ทันสัญญาณเตือนว่าเรากำลังมีการใช้จ่ายที่เกินตัว แค่นี้เราก็จะสามารถดึงสติตัวเองกลับมา ให้เริ่มตั้งต้นวางแผนการเงินให้ตรงตามเป้าหมาย ไม่ออกนอกทางอีก ให้เรากลับมาเป็นคนควบคุมเงิน ไม่ใช่เงินควบคุมเรา

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่