fbpx
Search
Close this search box.

Nudge Theory ทฤษฎีช่วยเก็บเงิน

Nudge Theory

หลายคนเป็นกันรึเปล่า อยากเก็บเงินแต่ทำไมทำไม่ได้สักที เป็นเพราะอะไรกันนะ ลองมาใช้ทฤษฎีที่เรียกว่า “Nudge Theory” หรือ “ทฤษฎีผลักดัน” ที่จะทำให้เราสามารถเก็บเงินได้อยู่หมัด ซึ่งทฤษฎีนี้จะเป็นแบบไหน ตาม ACU PAY มาเลย 

Nudge Theory

ทำความรู้จัก ทฤษฎี Nudge Theory คืออะไร?

ทำไมคนเราถึงยอมสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า กินของไม่ดีต่อสุขภาพ ทั้งที่เรารู้ดีว่าสิ่งนี้ไม่ควรทำ แต่ก็ยังทำต่อไป เรื่องการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการออมเงิน การใช้จ่ายต่าง ๆ ฟุ่มเฟือยก็เช่นกัน

เหตุผลของสภาวะนี้อยู่ในข้อสันนิษฐานตั้งต้นของ ดร.ริชาร์ด เอช. เธเลอร์ (Richard H. Thaler) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันว่า “มนุษย์นั้นไร้เหตุผลและมักตัดสินใจผิดพลาดเพราะมีพฤติกรรมเอนเอียงไปกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เกิดขึ้น ตามสถานการณ์หรือตามอารมณ์และความรู้สึกส่วนตัว” แนวคิดนี้ได้นำมากลั่นกรองทั้งในเชิงเศรษฐศาสตร์และจิตวิทยา สร้างแรงจูงใจแต่ไม่บังคับจนเกิดเป็น ทฤษฎี Nudge Theory ขึ้น

Nudge Theory คือการออกแบบทางเลือกที่ไม่บังคับมากจนเกินไป ทำให้เราสามารถทำสิ่งที่ตั้งใจไว้ให้สำเร็จได้ เพราะโดยปกติแล้วคนเราไม่ค่อยคิดถึงเป้าหมายในระยะยาวสักเท่าไหร่ คิดก็แค่เพียงเป้าหมายระยะสั้น ๆ ซึ่งการเก็บเงินจึงเหมือนกับการบีบบังคับให้เราเครียดกับเป้าหมายขนาดใหญ่ที่ตั้งไว้ จนสุดท้ายก็ทำให้การบรรลุเป้าหมายนั้นเป็นเรื่องยาก แต่ทฤษฎีนี้จะช่วยสร้างความยืดหยุ่นในการเก็บเงิน โดยมี 4 ขั้นตอนด้วยกันดังนี้

สร้างเป้าหมายแล้วให้รางวัลตัวเอง

การสร้างแรงบันดาลใจในการเก็บเงิน อย่าง การให้รางวัลตัวเอง หลังจากเก็บเงินได้ตามเป้าหมายที่วางไว้นั้น จะช่วยให้เราทำเป้าหมายได้สำเร็จและมีกำลังใจในการเก็บเงินมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เราตั้งใจจะเก็บเงินเดือนละ 3,000 บาททุกเดือน ถ้าทำครบ 1 ปี ก็จะให้รางวัลตัวเองด้วยการซื้อของที่อยากได้มากที่สุด 1 ชิ้น ด้วยงบไม่เกิน 5,000 บาท เท่านี้ เราก็จะมีกำลังใจในการเก็บเงินต่อไปแล้ว

เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย เพื่อให้ถึงเป้าหมายเร็วขึ้น

ในเมื่อเราตั้งเป้าหมายแล้วว่าในแต่ละเดือน จะเก็บเงินให้ได้ 3,000 บาท พฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราก็ควรปรับเปลี่ยนให้สามารถทำตามเป้าหมายได้สำเร็จด้วย ถ้าเราเป็นสายช้อป สายปาร์ตี้ ก็อาจจะลดความถี่ในการช้อปหรือการไปเที่ยวสังสรรค์น้อยลง หรืออาจจะลองหากิจกรรมที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มหรือจ่ายน้อยลงแทน

แยกเงินออกเป็นส่วน ๆ แล้วทำรายการบัญชีแยก

การจะทำอะไรก็ตามให้สำเร็จ นอกจากจะขึ้นอยู่กับวินัยแล้ว ยังขึ้นอยู่กับการวางแผนและการจัดการที่ดีอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแยกเงินออกมาเป็นสัดส่วนให้ชัดเจน เช่น เราอาจใช้แอปพลิเคชันออมเงินที่เดี๋ยวนี้สามารถแบ่งเป็นกระเป๋าย่อย ออกมาเป็นสัดส่วน ให้เราคอยเอาเงินไปออมตามกระเป๋าที่เราสร้างไว้จะช่วยให้เราใช้เงินแบบไม่ปะปนกัน แต่สำหรับใครที่อดใจไม่ไหวชอบโยกเงินออกบ่อย ๆ อาจลองเปิดบัญชีออมทรัพย์แยกบัญชีไปเลย จะได้ไม่เผลอเอาเงินนั้นมาใช้จ่ายจนลืมตัว

ตรวจดูยอดเงินสม่ำเสมอ จะได้ไม่เผลอใช้จนหมด

ถึงการดูยอดเงินบ่อย ๆ โดยเฉพาะในช่วงสิ้นเดือน จะทำให้เราช้ำใจกับเงินที่หดลงเรื่อย ๆ แต่การเช็กยอดเงินอยู่สม่ำเสมอ จนติดเป็นนิสัย จะทำให้เราไม่เผลอใช้เงินฟุ่มเฟือย ซื้อของที่ไม่จำเป็น เพราะไม่รู้จำนวนเงินในบัญชีของตัวเองเหลือเท่าไหร่ ดังนั้นวิธีนี้จะเป็นเหมือนกับการย้ำเตือนตัวเอง จะได้ไม่เผลอใช้เงินจนหมดตัวนั่นเอง โดยส่วนที่เป็นเงินเก็บ ก็ควรแยกออกมาให้ชัดเจนตั้งแต่ต้นเดือน หรือใช้วิธีการหักบัญชีอัตโนมัติ เพื่อไม่ให้ตัวเองลืมนั่นเอง 

Nudge Theory ก็ถือเป็นการเทคนิคการออมเงินอีกแบบหนึ่ง ที่ช่วยทำให้เรามีทางเลือกในการเก็บออมเงินมากขึ้น และทำให้รู้ว่าการออมเงินไม่ใช่เรื่องยากเสมอไป 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่