fbpx
Search
Close this search box.

สายหวานเตรียมตัว “ขึ้นภาษีความหวาน” ระยะที่ 3

ขึ้นอีกแล้วจ้าภาษีความหวาน ซึ่งครั้งนี้เป็นระยะที่ 3 โดยเริ่มตั้งแต่ 1 เมษายน 2566 เป็นต้นมา  หลังจากที่กรมสรรพสามิต ได้คงระยะเวลาภาษี 6 เดือน ตามมติ ครม. ที่เห็นชอบให้คงภาษีตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2565 – 31 มี.ค. 2566 เดี๋ยวเรามาทำความรู้จักกับ “ภาษีความหวาน” กันดีกว่า เหตุผลทำไมต้องมี และต่อไปจะขึ้นอีกหรือไม่

ทำไมต้องเก็บ “ภาษีความหวาน”

กรมสรรพสามิตได้เริ่มจัดเก็บภาษีความหวานตามปริมาณน้ำตาลในสินค้าเครื่องดื่มตั้งแต่ปี 2560 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีการปรับสูตรลดปริมาณน้ำตาล เพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชนมาโดยตลอดซึ่งเป็นการปรับโครงสร้างภาษีหลายอัตรา โดยการจัดเก็บภาษีสรรสามิตจากค่าความหวาน (ปริมาณน้ำตาล) กรมสรรพสามิตมีวัตถุประสงค์หวังว่าราคาของสินค้าน้ำตาลเกินเกณฑ์มาตรฐานจะมีราคาสูงขึ้น ซึ่งผู้บริโภคน่าจะลดการบริโภคสินค้าเครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ลง รวมถึงทำให้คนไทยสุขภาพดีขึ้น

มีการเก็บ “ภาษีความหวาน” มาแล้วกี่ระยะ?

โดยมีการกำหนดโครงสร้างภาษีในอัตราแบบขั้นบันได 3 ระยะ ได้แก่

  • ระยะที่ 1 ในวันที่ 16 กันยายน 2560 ถึง 30 กันยายน 2562
  • ระยะที่ 2 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2564
  • ระยะที่ 3 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2566 (แต่มีมติ ครม. 20 ก.ย. 2565 ให้คงอัตราภาษีระยะที่ 2 ออกไปอีกเป็นครั้งที่ 2 โดยมีกำหนดสิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค. 2566 เพื่อบรรเทาค่าครองชีพของประชาชน) และเริ่มวันที่ 1 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา

ภาษีความหวาน ระยะที่ 3 เริ่มเก็บเมื่อไหร่ อย่างไร?

สำหรับภาษีความหวาน ระยะที่ 3 ที่เริ่มเก็บตั้งแต่ 1 เมษายน 2566-31 มีนาคม 2568 มีอัตรา ดังนี้

  • ปริมาณน้ำตาล 0-6 กรัม คิดอัตราภาษี 0 บาทต่อลิตร จากปัจจุบัน 0 บาทต่อลิตร
  • ปริมาณน้ำตาล 6-8 กรัม คิดอัตราภาษี 0.3 บาทต่อลิตร จากปัจจุบัน 0.1 บาทต่อลิตร
  • ปริมาณน้ำตาล 8-10 กรัม คิดอัตราภาษี 1 บาทต่อลิตร จากปัจจุบัน 0.3 บาทต่อลิตร
  • ปริมาณน้ำตาล 10-14 กรัม คิดอัตราภาษี 3 บาทต่อลิตร จากปัจจุบัน 1 บาทต่อลิตร
  • ปริมาณน้ำตาล 14-18 กรัม คิดอัตราภาษี 5 บาทต่อลิตร จากปัจจุบัน 3 บาทต่อลิตร
  • ปริมาณน้ำตาล ตั้งแต่ 18 กรัม คิดอัตราภาษี 5 บาทต่อลิตร จากปัจจุบัน 5 บาทต่อลิตร

โดยภาษีความหวานจะมีการปรับขึ้นเป็นอัตราก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ ทุก ๆ 2 ปี ซึ่ง ถ้าผู้ประกอบการไม่ปรับตัวในการผลิต โดยลดความหวานลงจะเสียภาษีเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องดื่มที่มีสารความหวาน 10-14 กรัมต่อลิตร จะเสียภาษีเพิ่มจาก 1 บาท เป็น 3 บาทต่อลิตร อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ผู้ผลิตทยอยลดปริมาณน้ำตาลลงแล้ว ซึ่งจะไม่ทำให้มีภาระภาษีเพิ่มแต่อย่างใด”

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีผู้ผลิตเครื่องดื่มที่มีสัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 200 กว่ารายการ ล่าสุดในเดือนมกราคม 2566 เพิ่มเป็น 1,800 รายการ หรือเพิ่มมากกว่าเดิม 9 เท่าตัว เพราะฉะนั้นจึงเชื่อว่าเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลน้อยกว่า 6 กรัม (อัตราภาษีความหวาน 0 บาทต่อลิตร) กำลังมีมากขึ้นด้วย ซึ่งเป็นผลดีกับผู้บริโภค ถ้าลดปริมาณน้ำตาลลงก็จะไม่เสี่ยงกับโรคเบาหวาน

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่