fbpx
Search
Close this search box.

ทำไมน้ำมันไทยถึงราคาแพง

เมื่อส่องดูราคาน้ำมันขายปลีกในไทยตอนนี้ ราคาน้ำมันวันนี้ (11 เมษายน 67) ดีเซลทะลุไปกว่า 30.44 บาท/ลิตร เบนซินอยู่ที่ 47.84 บาท/ลิตร แก๊สโซฮอล์ 95 อยู่ที่ 39.95 บาท/ลิตร ซึ่งมีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อีก

เนื้อหา

อย่างที่รู้กันว่า ถึงแม้ประเทศไทยจะสามารถขุดเจาะน้ำมันเพื่อใช้ในประเทศได้ แต่นั่นก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการ จากข้อมูลความต้องการน้ำมันดิบเฉลี่ยของปี 2564 พบว่า ประเทศไทยมีความต้องการใช้น้ำมันดิบเพื่อกลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปอยู่ที่ 951,000 บาร์เรลต่อวัน ขณะที่ไทยมีกำลังการผลิตได้เพียง 100,000 บาร์เรลต่อวัน เท่านั้น ทำให้ไทยจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันเป็นหลัก 

เพราะฉะนั้นปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลก ก็จะส่งผลต่อราคาน้ำมันในไทยปรับตัวตามไปด้วย ยิ่งกว่านั้นเพื่อที่จะนำเข้าน้ำมันในราคาที่ถูกที่สุด ไทยจึงต้องนำเข้าน้ำมัน โดยอ้างอิงราคาตลาดที่สิงคโปร์ เพราะเป็นตลาดน้ำมันที่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด และเป็นศูนย์กลางการค้าน้ำมันในภูมิภาคเอเชีย และทุกประเทศในภูมิภาคจะอ้างอิงราคาน้ำมันจากแหล่งเดียวกัน

แล้วมีปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกสูงขึ้น ลองมาดูปัจจัยส่วนหนึ่งพร้อมกันเลย

สาเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกสูงขึ้น

  1. ปริมาณน้ำมันคงเหลือ 

    ถ้าโรงกลั่นน้ำมันแต่ละแห่งมีปริมาณน้ำมันดิบที่ซื้อเตรียมไว้สำหรับกลั่นในปริมาณน้อย จึงต้องการน้ำมันดิบจำนวนมาก ทำให้ความต้องการโดยรวมของตลาดโลกจะเพิ่มขึ้น ก็จะเป็นปัจจัยที่กดดันราคาให้สูงขึ้นเช่นกัน

  2. ปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป

    ในตลาดหลักของโลกนั้นน้ำมันจะมีการซื้อขายด้วยเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรือความผันผวนเกิดขึ้นกับอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินท้องถิ่นกับเงินดอลลาร์สหรัฐ เช่นค่าเงินอ่อนค่า-แข็งค่า ก็ส่งผลให้ต้นทุนในการซื้อน้ำมันดิบหรือน้ำมันสำเร็จรูปเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

  3.  ข้อตกลงของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน หรือ OPEC

    เนื่องจากกลุ่ม OPEC ต้องรักษาเสียรภาพราคาไม่ให้สูงหรือต่ำจนเกินไป นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ากลุ่มโอเปกพลัสมีแนวโน้มที่จะคงนโยบายปรับลดกำลังการผลิตจนกว่าจะมีการประชุมเต็มรูปแบบในเดือนมิถุนายน 2567 นี้

  4. ปัจจัยสภาพอากาศและภัยพิบัติ

    นอกจากปัจจัยรอบ ๆ แล้ว สภาพอากาศและภัยพิบัติที่รุนแรงที่เกิดขึ้นในแหล่งผลิตน้ำน้ำมัน เช่น พายุเฮอร์ริเคน หรือ แผ่นดินไหว จนทำให้แหล่งผลิตหรือท่อสำหรับขนส่งได้รับความเสียหาย ก็จะส่งผลต่อปริมาณน้ำมันดิบที่ผลิตเข้าสู่ตลาดเช่นกัน

  5. ปัญหาความขัดแย้ง
    • สงครามในรัสเซีย – ยูเครน 

    ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายสำคัญของโลก ซึ่งความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนยังคงตึงเครียด หลังยูเครนยังคงเดินหน้าโจมตีโรงกลั่นน้ำมันและโครงสร้างพื้นฐานในรัสเซียอย่างต่อเนื่อง 

    โดยล่าสุดรัสเซียมีแผนลดการส่งออกน้ำมันดีเซลผ่านท่าส่งออกบริเวณทะเลดำและทะเลบอลติกในเดือนเมษายนนี้ลง 21% มาอยู่ที่ 2.29 ล้านตัน (ประมาณ 570,000 บาร์เรล/วัน) เนื่องจากโรงกลั่นหลายแห่งปิดซ่อมแซมหลังถูกโดรนของยูเครนโจมตี

    • สงครามในตะวันออกกลาง

    สงครามระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส ที่สร้างความเสียหาย และสถานการณ์ตึงเครียดระหว่าง อิหร่านกับอิสราเอล ที่เตรียมทำสงครามกันอย่างเปิดเผยหลังจากมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงถูกโจมตีจนเสียชีวิต โดยอิหร่านประกาศแล้วว่า จะเอาคืนอิสราเอลในทุกประเทศที่มีสถานทูตอิสราเอลก่อน

  6. นโยบายของภาครัฐ

    ในหลายประเทศรัฐมีนโยบายอุดหนุนราคาน้ำมัน ซึ่งจะช่วยให้ราคาน้ำมันถูกลง แต่หากไม่อุดหนุนและนำเงินไปพัฒนาในส่วนอื่นแทน ราคาน้ำมันก็อาจจะสูงขึ้นกว่าประเทศอื่น ๆ เพราะราคาขายปลีกน้ำมันแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐด้วยเช่นกัน 

    ซึ่งตอนนี้ราคาที่ตรึงไว้ได้ทะลุเกินเพดานที่รัฐกำหนด เนื่องจากราคาดีเซลลิตรละ 30 บาท ตั้งแต่เดือน กันยายน 2566 ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ ติดลบใกล้ 100,000 ล้านบาท โดยตอนนี้กำลังมีการเจรจาเรื่องมาตรการลดภาษีดีเซล 1 บาทต่อลิตร ที่ครบกำหนดวันที่ 19 เมษายน 2567 นี้

สุดท้ายแล้วราคาน้ำมันไทยจะปรับตัวอย่างไรต่อ นอกจากจะขึ้นอยู่กับปัจจัยจากต่างประเทศแล้ว ยังมีเรื่องของ ภาษีและกองทุนน้ำมันจากนโยบายภาครัฐด้วย เลยเหตุผลว่าทำไมราคาน้ำมันในประเทศไทยถึงไม่ปรับราคาทันทีตามราคาน้ำมันจากตลาดโลกนั่นเอง

อ้างอิงจาก

ผู้เขียน

ACU PAY Thailand

ACU PAY Thailand

ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่