fbpx
Search
Close this search box.

โรคซึมเศร้า ที่ต้องเฝ้าระวังก่อนสูญเสีย

โรคซึมเศร้า ไม่ใช่โรคที่จะมาล้อเล่นกันได้ ซึ่งการเป็นโรคซึมเศร้าเป็นสาเหตุที่นำพามาสู่การเสียชีวิตด้วยวิธีการคิดสั้นต่าง ๆ และมีหลายเคสที่เรามักเห็นจะข่าวในโลกออนไลน์เกี่ยวกับการคิดสั้นเพราะโรคซึมเศร้า แต่รู้หรือไม่ว่าถ้าหากเรารู้ตัวก่อนว่าตัวเองมีอาการก็สามารถไปพบแพทย์และรักษาให้หายขาดได้ เดี๋ยววันนี้เรามาทำความรู้จัก “โรคซึมเศร้า” กันเถอะ

สาเหตุการเกิดโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าเป็นภัยเงียบร้ายใกล้ตัวที่พบขึ้นมากให้สังคม และยังมีอีกหลายคนบนโลกที่กำลังเผชิญภาวะชึมเศร้าอย่างเดียวดาย แม้บางคนจะมีความรู้ด้านโรคซึมเศร้าอยู่บ้าง แต่ก็ยังมีส่วนมากเช่นกันที่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้านี้ ซึ่งสาเหตุในการเผชิญโรคร้ายอย่างภาวะซึมเศร้านี้มีปัจจัยอะไรกันบ้าง ?

  • โรคซึมเศร้าที่เกิดจากความเครียด เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ที่หลายคนเป็นโรคเครียด ถึงแม้จะไม่เคยมีญาติเป็นโรคซึมเศร้า แต่ความเครียดก็สามารถทำให้เราเป็นได้ เกิดจากการสะสมความเครียด ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหนังสือ การทำงาน คอมเมนต์ในโซเซียล แม้กระทั่งการที่เราคิดมาก ๆ ก็สามารถทำให้เราเครียดจนพบความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ที่เซลล์สมองสร้างขึ้นเพื่อรักษาสมดุลของอารมณ์ 
  • การเผชิญหน้ากับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ร้ายแรง เช่น การสูญเสียครั้งใหญ่ของคนที่ตัวเองรักมาก ๆ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม สุดท้ายเหตุการณ์ที่พูดก่อนคิดส่งผลให้คนรับฟังหรือคนอ่านไม่สบาย สิ่งเหล่านี้เหล่ากระตุ้นให้เราเกิดโรคซึมเศร้าได้ 
  • สภาพจิตใจที่เกิดจากการเลี้ยงดู ในปัจจัยนี้จำเป็นต้องให้คนรอบข้างค่อยช่วยเหลือเพราะบางคนอาจคิดว่า ตัวเองไม่สามารถสร้างความภูมิใจได้หรือขาดความมั่นใจในตัวเอง มองตัวเองและโลกที่อยู่ในแง่ลบ หรือเครียดง่ายเมื่อเจอมรสุมชีวิต  ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดการซึมเศร้าได้ อย่างเช่นเหตุการณ์นักเรียนกระโดดตึก ซึ่งก็มีหลาย ๆ เคสที่เกิดจากการคาดหวัง จนทำให้เกิดความกดดันกับเขาเหล่านั้น และเมื่อเขาทำไม่ได้ ไม่สามารถทำความภูมิใจให้ได้ ก็เกิดความเครียดสู่การนำพาความสูญเสีย

วิธีการรักษาโรคซึมเศร้า

1. การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยวิธีการใช้ยา

ในปัจจุบันการรักษาโรคซึมเศร้าแบ่งออกได้หลายกลุ่ม และการไปปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาโรคซึมเศร้าไม่ใช่เรื่องน่าอาย ซึ่งถ้าหายได้รักษาตั้งแต่เริ่มก็มีโน้มแนวที่จะหายได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องใช่ยาในจำนวนเยอะ เดี๋ยวเรามาดูกันว่าตามลักษณะโครงสร้างทางเคมีและวิธีการออกฤทธิ์มีอะไรบ้าง

  • กลุ่ม tricyclic (คือยาที่มีโครงสร้างทางเคมีสามวง)
  • กลุ่ม monoamine oxidase inhibitors เรียกย่อ ๆ ว่า MAOI
  • กลุ่ม SSRI (serotonin-specific reuptake inhibitor)

2. การรักษาทางจิตใจให้กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

อีกหนึ่งวิธีในการรักษาก็คือการพูดคุยกับจิตแพทย์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหานั้นๆ และนำไปสู่การแก้ไขปัญหา โดยมีจิตแพทย์เป็นผู้ให้ความแนะนำ ซึ่งการเปลี่ยนมุมมองของจิตแพทย์จะทำให้เกิดความพึงพอใจ และอีกแบบคือการได้พูดคุยกับคนรอบข้างและปรับความสัมผัส ความคิด รวมไปถึงพฤติกรรม โดยรักษาในรูปแบบการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ทำให้เขารับรู้ว่าไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว โดยการปรับเปลี่ยนความคิด

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่