fbpx
Search
Close this search box.

5 เทคนิคผ่อนบ้านให้หมดเร็ว

ความฝันสำหรับใครหลายคนก็อาจเป็นการมีบ้านสักหลังให้พ่อแม่หรือคนที่เรารักอยู่ แต่การจะทำความฝันนั้นให้สำเร็จ หลาย ๆ คนก็ต้องเผชิญหน้ากับภาระหนี้ก้อนใหญ่ที่อยู่ติดตัวไปหลายสิบปี แล้วยิ่งเจอสภาวะเงินเฟ้อด้วยแล้ว ยิ่งยากเย็นขึ้นไปอีก แล้วมีเทคนิคไหนบ้างที่ช่วยให้มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา สามารถลดภาระหนี้ผ่อนบ้านได้มากขึ้น ถ้าอยากรู้แล้วตาม ACU PAY กันเลย

เทคนิคผ่อนบ้านให้หมดเร็ว

แม้ว่าการผ่อนบ้านจะต้องใช้ความพยายามอย่างมาก แต่ถ้ารู้จักวิธีบริหารหนี้ให้เป็น บอกเลยว่าไม่ใช่เรื่องยาก

  1. จ่ายเกินทุกงวด
    จำไว้ว่าค่างวดแต่ละเดือนที่จ่ายให้ธนาคาร คือ เงินต้นและดอกเบี้ย ซึ่งธนาคารจะแจ้งมาตั้งแต่แรกตอนทำสัญญากู้บ้านแล้วว่า การผ่อนชำระคิดเป็นเงินเท่าไรต่อเดือน ดังนั้นถ้าคุณจ่ายค่างวดเกินกว่าที่ธนาคารกำหนด เงินที่เกินมาจะไปตัดเงินต้นเดิม นั่นจะทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลง ก็จะช่วยให้คุณผ่อนบ้านได้หมดเร็วขึ้น ยกตัวอย่าง กู้ซื้อบ้านราคา 2 ล้านบาท ดอกเบี้ย 7% ต่อปี ระยะเวลาผ่อน 30 ปี ผ่อนค่างวดต่อเดือน 10,000 บาท คุณอาจจะเลือกเพิ่มเงินผ่อนต่อเดือนเป็น 20,000 บาท ก็จะทำให้ย่นระยะเวลาการเป็นหนี้เหลือเพียง 9 – 10 ปีเลยทีเดียว จำไว้เลยว่า ยิ่งเงินต้นลด ดอกเบี้ยลดตาม
  2. มีเงินก้อนต้องรีบจ่ายรีบจบ
    ยิ่งเราใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่ในการผ่อนบ้าน เราก็จะยิ่งจ่ายดอกเบี้ยที่แพงมากขึ้น ดังนั้นถ้าวันไหนมีเงินก้อน ก็ควรนำมาโปะจ่ายค่าบ้าน แค่นี้ก็ช่วยลดภาระดอกเบี้ยที่งอกออกมาอย่างไม่จำเป็นได้แล้ว
  3. ช่วงดอกเบี้ยต่ำต้องรีบโปะบ้าน
    โดยส่วนใหญ่แล้วอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยมักจะต่ำที่สุดในช่วง 3 ปีแรกตามเงื่อนไขของธนาคาร ซึ่งถือเป็นช่วงที่ดีที่สุดในการโปะเงินให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อลดเงินต้นและดอกเบี้ยในแต่ละงวด โดยอาจจะค่อย ๆ เพิ่มจำนวนเงินให้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น กู้ซื้อบ้านจำนวน 2 ล้านบาท และต้องผ่อนต่องวด 14,000 บาท แต่ในช่วงอัตราดอกเบี้ยต่ำให้เลือกผ่อนเพิ่มอีก 16,000 บาท ทำให้งวดนี้ต้องจ่ายรวมทั้งหมด 30,000 บาท โดยธนาคารได้ทำการคิดดอกเบี้ยประมาณวันละ 300 บาท นับหลังจากวันตัดยอดไปแล้ว 5 วัน ดังนั้นจำนวนเงินผ่อน 30,000 บาท จะถูกหักดอกเบี้ย 1,500 บาท และหักเงินต้น 28,500 บาท
  4. ปรับโครงสร้างหนี้รีไฟแนนซ์ (Refinance) หรือรีเทนชั่น (Retention)
    รูปแบบของดอกเบี้ยบ้านเป็นดอกเบี้ยแบบ MRR ที่มักปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในปีต่อๆ ไป เช่น จากในช่วง 3 ปีแรก อัตราดอกเบี้ย 3% แต่เมื่อเข้าปีที่ 4 ดอกเบี้ยปรับตัวเป็น 6.5% ซึ่งจะทำให้ยิ่งลดเงินต้นได้ยากมากขึ้น การปรับโครงสร้างหนี้จึงเป็นทางเลือกของการปรับอัตราดอกเบี้ย โดยมีอยู่ 2 วิธีคือ
    ▸รีไฟแนนซ์ (Refinance) ย้ายหนี้เดิมไปธนาคารใหม่ เพื่อผ่อนในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ เหมือนกับการผ่อนในช่วง 3 ปีแรก ช่วยลดเงินต้น ทำให้หนี้หมดเร็วขึ้น
    ▸รีเทนชัน (Retention) ปรับโครงสร้างหนี้เหมือนกับรีไฟแนนซ์ แต่เป็นการขอลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารเดิมที่เคยยื่นเรื่องกู้ ผู้ข้อต้องมีประวัติการชำระหนี้ที่ดี
  5. เช็กสิทธิพิเศษต่างๆ ของบริษัท หรือจากหน้าที่การงานที่คุณทำ

    เช็กสิทธิประโยชน์จากบริษัทกำลังทำงานอยู่ว่า มีข้อเสนอพิเศษกับธนาคารไหนหรือเปล่า เพราะบางทีนั้นอาจมีแพ็คเกจพนักงาน หรือถ้าคุณมีอาชีพพิเศษ อย่าง กลุ่มอาชีพแพทย์, ผู้พิพากษา, นักบินพาณิชย์แพทย์, พยาบาล หรือข้าราชการ กลุ่มอาชีพเหล่านี้มักจะได้รับสิทธิพิเศษอย่าง อัตราดอกเบี้ยหรือโปรพิเศษจากธนาคารต่าง ๆ ที่อาจช่วยย่นระยะเวลาผ่อนบ้านหรือประหยัดได้มากกว่าเดิมทีเดียว

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่