fbpx
Search
Close this search box.

ทักษะด้านดิจิทัล (Digital Skills) คืออะไร?
ประเทศไทยพร้อมแค่ไหนในด้านดิจิตอล?

ทักษะด้านดิจิทัล (Digital Skills) คืออะไร?

ทักษะด้านดิจิทัล (Digital Skills) คือความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ดิจิทัลและการสื่อสาร 

ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ระดับ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

  • ทักษะระดับที่ 0 (ไม่มีทักษะด้านดิจิทัล) คือ แรงงานที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล
  • ทักษะระดับที่ 1 (ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับชีวิตประจำวัน) สามารถใช้ดิจิทัลเพื่อชีวิตประจำวันได้ อาทิ การติดต่อ ติดตามข่าวสาร ค้นหาข้อมูลสินค้าและบริการ รวมถึงธุรกรรมออนไลน์ 
  • ทักษะระดับที่ 2 (ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการทำงาน) สามารถใช้ดิจิทัลเพื่อการทำงานได้ อาทิ การใช้ โปรแกรมหรือซอฟแวร์ (เช่น Microsoft Offices) การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลางในการทำงาน (เช่น การส่งอีเมล์หรือ การประชุมออนไลน์ หรือการทำธุรกิจหรือร้านค้าออนไลน์ เป็นต้น) 
  • ทักษะระดับที่ 3 (ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทักษะระดับสูง) สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูงได้ อาทิ การเขียน โปรแกรม และการบริหารจัดการระบบความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

ประเทศไทยพร้อมแค่ไหนในด้านดิจิตอล?

        ทุกวันนี้โลกดิจิทัลมีบทบาทในชีวิต และระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศเป็นอย่างมาก ไม่มีธุรกิจใดหรือแรงงานกลุ่มใดที่ไม่ได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง โดยในรายงานของ World Economic Forum ปี 2563 ได้นำเสนอผลสำรวจความเห็นของบริษัทขนาดใหญ่ทั่วโลก

        พบว่าแรงงานเกือบครึ่งหนึ่งของที่สำรวจ ร้อยละ 40 จำเป็นต้องพัฒนาทักษะการทำงานเพื่อให้เท่าทันโลกยุคดิจิทัล และผู้บริหารเกือบทั้งหมด ร้อยละ 94 คาดหวังว่าพนักงานของตนจะมีทักษะการทำงานใหม่ๆ เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอาจส่งผลให้จำนวนงานในอนาคตมีแนวโน้มลดลง โดยร้อยละ 43 ของบริษัทที่สำรวจ กำลังเดินหน้าลดจำนวนแรงงานลง

       ดังนั้นการปรับตัวและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างเต็มที่จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ และฝีมือแรงงานให้เติบโตและสร้างความมั่งคั่ง และมั่นคง  ซึ่งเมื่อพิจารณากรณีของไทย พบว่า แม้คนไทยจะเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ค่อนข้างมาก (ร้อยละ 80 ของประชากรทั้งหมด)

        แต่จากการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน ทางดิจิทัล (World Digital Competitiveness Ranking 2021) โดยสถาบัน International Institute for Management Development (IMD) กลับพบว่าคนไทยมีความพร้อมด้านดิจิทัลไม่สูงนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่นโดยอยู่อันดับที่ 38 จากสมาชิกทั้งหมด 63 ประเทศทั่วโลก

         ซึ่งประเมินของ IMD เป็นเชิงภาพรวม บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาและวัดระดับ ทักษะด้านดิจิทัลของแรงงานไทยในเชิงลึก เพื่อช่วยสำรวจความพร้อมด้านทักษะดิจิทัลของไทย เพื่อพัฒนาความสามารถ สำหรับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัล

ความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล (Digital Competitiveness) และรายได้ต่อหัวประชากร
(GDP per capita) แต่ละประเทศ

ความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล (Digital Competitiveness) และรายได้ต่อหัวประชากร(GDP per capita) แต่ละประเทศ
หมายเหตุ : ประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลสูง รายได้โดยเฉลี่ยต่อหัวประชากรจะสูงตามเช่นกัน ที่มา : Digital literacy ทักษะพื้นฐานในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอนาคต, สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (2561)

ประเทศไทยมีสัดส่วนแรงที่มีทักษะด้านดิจิทัลแค่ไหน?

ประเทศไทยมีสัดส่วนแรงที่มีทักษะด้านดิจิทัลแค่ไหน?​
หมายเหตุ: • การกำหนดระดับทักษะ แรงงานต้องมีทักษะตรงกับที่ระบุไว้ในแต่ละระดับ อย่างน้อย 1 ข้อ เช่น หากแรงงานใช้เทคโนโลยีเพื่อติดตามข่าวสารได้ จะกำหนดให้แรงงานดังกล่าวมีทักษะระดับที่ 1 แม้ผู้ตอบแบบสอบถามจะไม่ได้ค้นหาข้อมูลสินค้าและบริการ หรือทำธุรกรรมออนไลน์ก็ตาม • กำหนดให้แรงงานที่ใช้ดิจิทัลเพื่อทำงาน (ทักษะระดับ 2) จะสามารถใช้ดิจิทัลเพื่อชีวิตประจำวัน (ทักษะระดับ 1) ได้ • กำหนดให้แรงงานที่สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูง ( ทักษะระดับ 3) จะสามารถใช้ดิจิทัลทำงานทั่วไป (ทักษะระดับ 2) และใช้ในชีวิตประจำวัน (ทักษะระดับที่ 1) ได้ ที่มา : แบบสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน, สำนักงานสถิติแห่งชาติ

คนอายุเท่าไหร่ หรือ Gen ไหนมีทักษะด้านดิจิทัลเท่าไหร่บ้าง?

ที่มา : แบบสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติคำนวณโดย ผู้เขียน

กลุ่มอาชีพไหนมีทักษะด้านดิจิทัลมากน้อยแค่ไหน?

ที่มา : แบบสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน สำนักสถิติแห่งชาติ การจัดประเภทอาชีพตามมาตรฐานสากล (ISCO - 88) โดย International Labor Organization (ILO) คำนวณโดย ผู้เขียน

อุตสาหกรรม/ธุรกิจมีทักษะด้านดิจิตอลมากน้อยแค่ไหน?

ที่มา : แบบสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน สำนักสถิติแห่งชาติ การจัดประเภทอาชีพตามมาตรฐานสากล (ISCO - 88) โดย International Labor Organization (ILO) คำนวณโดย ผู้เขียน

สรุป   จากแบบสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในครัวเรือน (สำนักงานสถิติแห่งชาติ)

          พบว่า ที่ผ่านมาแรงงานไทยปรับตัวด้านดิจิทัลได้ดี สะท้อนจากสัดส่วนแรงงานที่สามารถใช้ดิจิทัลเพื่อชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่ส่วนหนึ่งมาจาก การที่คนไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้น และราคาโทรศัพท์มือถือที่ ถูกลง 

           อย่างไรก็ตาม ความพร้อมของแรงงานอาจไม่ได้เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร และยังต้องปรับปรุงเตรียมความพร้อมอีกมาก เพื่อให้เท่าทันต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอนาคต สะท้อนจากแรงงานที่ใช้ทักษะด้านดิจิทัล เพื่อการทำงานได้ยังมีสัดส่วนน้อย เพิ่มขึ้นช้า และกระจุกตัว รวมถึงผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้าน ดิจิทัล โดยเฉพาะด้านการฝึกอบรมและการศึกษาของไทย ที่ลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 ที่ผ่านมา แม้ว่าความต้องการ แรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลจะมีเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ความพร้อมของแรงงานที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเท่าทัน ความต้องการ อาจทำให้เห็น Digital Skill Mismatch ในอนาคตรุนแรงมากขึ้น

           เพื่อนๆ มีความคิดเห็นอย่างไรบ้างครับว่าอะไร หรือสิ่งไหนที่จะสามารถช่วยให้คนไทยพัฒนาทักษะด้านดิจิตอล เพื่อความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลกได้ลองนำมาแชร์กันนะครับ

Reference : ธนาคารแห่งประเทศไทย

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่